บทความเกษตร » เลี้ยงหอยขมในวงบ่อซีเมนต์ ใช้พื้นที่น้อย โตเร็ว รายได้ดี

เลี้ยงหอยขมในวงบ่อซีเมนต์ ใช้พื้นที่น้อย โตเร็ว รายได้ดี

28 มีนาคม 2024
120   0

เลี้ยงหอยขมในวงบ่อซีเมนต์ ใช้พื้นที่น้อย โตเร็ว รายได้ดี

เลี้ยงหอยขมในวงบ่อซีเมนต์


สวัสดีดีครับทุกท่าน ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการ เลี้ยงหอยขมในวงบ่อซีเมนต์ กันครับ หอยขม (Filopaludina martensi munensis) หรืออีสานเรียก หอยจุ๊บ เป็นที่รู้จักกันดีและมีขายในตลาดทั่วไปสามารถ พบได้ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป นิยมนำมาทำอาหาร เช่น แกงคั่วหอยขม แกงฮ่อมหอยขม และอื่น ๆ



หอยขมที่พบจากแหล่งธรรมชาติ ในปัจจุบันนั้นพบน้อยลงเนื่องการใช้สารเคมีต่างๆ ในแหล่งน้ำ ปัจจุบันจึงมีฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยขมในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลั้ยงหอยขมในกระชัง เลี้ยงหอยขมในบ่อซีเมนต์ หรือเลี้ยงครบคู่ในบ่อปลา หอยขมเป็นสัตว์ที่มีความอุดทนต่อสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว และขยายพันธุ์เร็ว

การเตรียมบ่อในการเลี้ยงหอยขม

สำหรับการเตรียมบ่อวงบ่อซีเมนต์ หรือบ่อสีเหลี่ยมนั้น กรณีบ่อใหม่ นั้นควรทำการฆ่าเชื้อและกลิ่นของปูนก่อน เหมือนกันกับการเตรียมบ่อ สำหรับเลี้ยงกุ้งฝอย หรือ เลี้ยงปูนา ซึ่งสามมารถทำได้ดังนี้

  • บ่อปูนซื้อมาใหม่ ให้เทปูนตรงก้นวงบ่อจนปิดสนิท ต่อท่อระบายน้ำไว้ด้านข้างเป็นลักษณะเกลียวหมุนมีฝาปิด ไว้ถ่ายน้ำ
  • ให้ทำการแช่น้ำด้วยด่างทับทิม หรือ แช่ด้วยต้นกล้วย โดยแช่ไว้ประมาณ 7-10 วัน หรือจนหมดกลิ่น เมื่อแช่บ่อจนบ่อหมดกลิ่นแล้วก็ล้างให้สะอาด
  • เติมน้ำแล้วนำพืชน้ำมาใส่เช่นผักตบชวา หรือจอกแหน แล้วน้ำพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มาปล่อยต่อไป

เลี้ยงหอยขมในวงบ่อซีเมนต์

การคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์หอยขม

  • พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ของหอยขมที่ใช้เลี้ยงมีอายุตั้งแต่ 3 เดือน และควรเลือกพ่อแม่หอยขมที่มีขนาดใหญ่ หรือโตเต็มวัย ซึ่งสังเกตได้จากน้ำหนักตัวของหอยขมที่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 60-100 ตัวต่อกิโลกรัม
  • หอยขมจะมี 2 เพศ คือทั้งเพศผู้และเพศเมียในตัวเดียวกันดังนั้นหอยขมสามารถผสมพันธุ์ได้ด้วยตัวของมันเอง และเมื่อมีอายุครบ 60 วัน จะออกลูกเป็นตัว ครั้งละประมาณ  40-50 ตัว

อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงหอยขม

  • อาหารที่ใช้เลี้ยง เป็นอาหารปลาที่ผสมกับข้าวเหนียวที่นึ่งสุก นำมาตำให้ละเอียด จากนั้นปั้นเป็นลูกขนาดเล็กๆ ประมาณเท่าหัวแม่มือ ให้บ่อละประมาณ 5 ลูก ความถี่ในการให้อาหาร 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ในบ่อเลี้ยงหอยขมจะใส่ผักตบชวาหรือใส่ใบไม้แห้งลงไป เพื่อใช้เป็นอาหารให้แก่หอยขมอีกช่องทางหนึ่ง แต่มีข้อควรระวังในการให้อาหารก็คือ จะต้องมีการดูแลและทำความสะอาดของน้ำ อย่าให้เกิดเน่าเสีย เพราะจะทำให้หอยขมตายได้ แนะนำควรเดิมน้ำหมักชีวภาพลงไปบ้างเพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำ
  • อาหารของหอยขมที่สำคัญ ได้แก่ แพลงก์ตอนพืช และสัตว์ขนาคเล็ก ตะ ไคร่น้ำ พืชน้ำ ซากเน่าเปื่อยของใบไม้ และอินทรีย์สารต่างๆ ที่เป็นตะกอนในดินโคลน

เลี้ยงหอยขม

ระยะเวลาในการเลี้ยงหอยขม

ในการเลี้ยงหอยขมนั้น โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงหอยขมประมาณ 2 เดือน จะสามารถเริ่มจับขายได้ แต่ในการจับนั้นจะต้องทยอยจับ เนื่องจากหอยขมจะมีการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน และมีหลากหลายขนาด ควรเลือกหอยที่โตเตี๋มวัยก่อน ส่วนตัวที่เล็กจะต้องเลี้ยงต่ออีกระยะหนึ่งจึงจะสามารถจับขายได้ ครั้งหนึ่งจะจับขายได้ประมาณ 30-50 กิโลกรัม ซึ่งราคาขายจะอยู่ที่ประมาณ 50-60 บาท

การเลี้ยงหอมขมในบ่อซีเมนต์ นั้นโอกาสเป็นโรคน้อยกว่าบ่อดิน เนื่องจากเปลี่ยนน้ำนั้นทำได้ง่ายกว่า แต่ต้องค่อยสังเกตุ อาการของหอยขมด้วย หากเป็นโรคที่เกิดจากน้ำเสีย จะไม่ค่อยเดิน ไม่กินอาหาร มักจะนอนหงายเปิดฝาหน้าและตายในที่สุด ฉะนั้นต้องสังเกตุด้วยสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ด้วย

ประโยชน์ของหอยขม

  • สามารถนำมาเป็นอาหารสำหรับในการรับประทานได้ เช่น แกงคั่วหอยขม ซึ่งหอยขมที่นำมารับประทานกวรต้มหรือทำให้สุกเสียก่อน เพราะอาจมีไข่พยาธิติดมาด้วยหรือหอยขมในแหล่งน้ำใกล้โรงงานอุตสาหกรรมหรือแหล่งน้ำเสียชุมชน ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน เพราะอาจปนเปื้อนโลหะหนักได้
  • สรรพคุณสำหรับการใช้ทางยา เช่น แก้กระษัยปวดเมื่อยตามร่างกาย บำรุงกระดูกรักษาอาการปวดกระดูก ขับของเสียต่างๆ ในร่างกาย เช่น เมือกมันในลำไส้ บำรุงถุงน้ำดี ขับนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ปวดศีรษะ
  • เป็นอาหารให้แก่สัตว์ เช่น เป็ด ปลาคุก ปลาไหล ตะพาบน้ำ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นผลดีของการเลี้ยงสัตว์จำพวกนี้ เพื่อเป็นงานอดิเรก เพื่อหารายได้และกำไรเลี้ยงชีพ หรือด้วยเหตุผลอื่นๆที่ไม่ใช่เลี้ยงหอยขมเพื่อทำกำไร จะเป็นผลดีและประโยชน์มาก

แหล่งตลาดหอยขม

การเพาะเลี้ยงหอยขมในเชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในพื้นที่ สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย การเลี้ยงหอยขมจึงเป็นสินค้าทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย เลี้ยงง่าย โตไว ต้นทุนต่ำเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี และที่สำคัญตลาดมีความต้องการสูง

ปัจจุบันเกษตรกรจะเน้นการจำหน่ายผ่านทางออนไลน์เป็นหลักตามวิถี New Normal ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกร โดยผลผลิตร้อยละ 80 จำหน่ายผ่าน Facebook และ Line Group ส่วนผลผลิตอีกร้อยละ 20 ขายหน้าฟาร์ม ซึ่งจะมีพ่อค้าและผู้บริโภค มารับซื้อถึง

ที่มา | www.sarakaset.com




บทความอื่นที่น่าสนใจ