ไขข้อสงสัย วิธีอ่านโฉนดที่ดิน ด้านหลัง ก่อนซื้อขาย
วิธีอ่านโฉนดที่ดิน ด้านหลัง
ที่ดินเป็นทรัพย์สินที่มีค่า และหลายคนอาจมีเพียงแปลงเดียวตลอดชีวิต ทำให้บางครั้งเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับโฉนดที่ดินมากนัก แต่เมื่อถึงเวลาต้องทำธุรกรรมเกี่ยวกับที่ดิน การเข้าใจเอกสารนี้อย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันปัญหาต่างๆ ได้
โฉนดที่ดิน เป็นเอกสารราชการที่ให้ข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์, ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดที่ดิน, แผนที่แสดงขอบเขตที่ดิน, ข้อจำกัดหรือภาระผูกพันทางกฎหมาย
สารบัญจดทะเบียน
เป็นส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับ สารบัญจดทะเบียน หรือเรื่องราวความเป็นมา การเปลี่ยนโอนกรรมสิทธิ์ ภาระผูกพันในที่ดิน จากอดีตจนถึงปัจจุบัน และในบรรทัดสุดท้ายจะระบุเจ้าของกรรมสิทธิ์คนปัจจุบัน โดยด้านหลังโฉนดอาจมีหลายหน้าก็ได้ แต่ละหน้าจะมีเลขที่หน้าระบุไว้ และจะต้องมีตราประทับรับรองพร้อมลายเซ็นของเจ้าหน้าที่พนักงานรับรองไว้ทุกหน้า สารบัญจดทะเบียนจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นข้อๆ ตามนี้ครับ
- จดทะเบียน วัน เดือน ปี
เป็นวันที่ที่ทำนิติกรรมนั้นๆ ณ สำนักงานที่ดิน (ย้ำว่าที่สำนักงานที่ดิน) - ประเภทการจดทะเบียน
ระบุประเภทนิติกรรมที่มาทำ ณ สำนักงานที่ดินในวันนั้นๆ อาทิเช่น ซื้อ, ขาย, จำนอง,ไถ่ถอนจำนอง, การให้, โอนมรดก, ภาระจำยอม, แบ่ง หรือ อื่นๆ - ผู้ให้สัญญา (กรณีขาย)
คือผู้ที่ให้สัญญา หรือกล่าวได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์คนปัจจุบันนั่นเอง - ผู้รับสัญญา (กรณีขาย)
คือผู้ที่มารับสัญญาต่อ หรือกล่าวได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์คนใหม่นั่นเอง - เนื้อที่ดินตามสัญญา
เป็นเนื้อที่ดินตามโฉนด ในการทำนิติกรรมสัญญาในวันนั้นๆ - เนื้อที่ดินคงเหลือ
เป็นพื้นที่ที่ดินในโฉนด หน่วยเป็นไร่ งาน ตารางวา ซึ่งเป็นพื้นที่ดินคงเหลือของโฉนดแปลงนี้ในปัจจุบัน ณ วันทำสัญญานั้นๆ พื้นที่โฉนดส่วนนี้อาจเหลือไม่ตรงกับพื้นที่ในโฉนดหน้าแรกได้ เนื่องจากโฉนดอาจมีการแบ่งหรือรวมกับพื้นที่โฉนดอื่น ให้ยึดตามพื้นที่ดินคงเหลือในส่วนสุดท้ายของสัญญาเป็นหลักเสมอ - ระวางเลขที่ดินโฉนดที่ดินใหม่
จะมีการระบุเลขในช่องนี้ หากมีการปรับปรุง/แก้ไข ระวาง - เจ้าพนักงานที่ดินลงลายมือชื่อ ประทับตรา
ในการทำนิติกรรมสัญญาในแต่ละครั้ง เจ้าหน้าที่รับเรื่องจะต้องลงชื่อและประทับตราราชการระบุไว้ทุกครั้ง กรณีมีปัญหา หรือต้องการทวนสอบประวัติของที่ดิน จะสามารถสอบถามกับเจ้าหน้าที่ที่รับทำเรื่องในครั้งนั้นๆได้ - มีใบต่อแผ่นที่
ในกรณีที่โฉนดที่ดิน มีการโอน/เปลี่ยนชื่อผู้ถือครอง มาหลายครั้งแล้ว หน้าสารบัญจดทะเบียน มีการจดทะเบียนหลายครั้ง อาจทำให้จดทะเบียนไม่เพียงพอให้หน้าเดี่ยว จะมีการเพิ่มหน้าจดทะเบียนไปอีก ซึ่งจะมีการระบุเลขหน้าที่ตำแหน่งนี้
เป็นยังไงบ้างครับโฉนดแผนเดียวที่เรามีอยู่ในมือสามารถบอกอะไรเราได้มากมายจริงๆ ใช่ไหมครับ
บทความอื่นที่น่าสนใจ