บทความเกษตร » เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เชื้อรามหัศจรรย์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืช

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เชื้อรามหัศจรรย์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืช

21 ตุลาคม 2022
1007   0

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma spp.) เชื้อรามหัศจรรย์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืช

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma spp.)

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า จัดเป็นเชื้อราชั้นสูงที่เป็นเชื้อราปรปักษ์ที่สามารถควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคูพืชได้หลายชนิดดังนี้ เชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) เชื้อราไฟทอฟเทอร่า (Phytopthora spp.) เชื้อราสเคอโรเทียม (Sclerotium spp.) เชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) เชื้อราคอลเลทโททริกัม (Colletotrichum spp.) เชื้อราอัลเทอนาเรีย (Alternaria spp.) เชื้อราฟิวชาเรียม (Fusarium spp.)

ประยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

  • ช่วยลดกิจกรรม ของเชื้อราสาเหตุของโรคพืช
  • ช่วยลดปริมาณ เชื้อราสาเหตุ ของโรคพืช
  • เพิ่มการเจริญ เติบโตของพืช

การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสด

อุปกรณ์ที่ใช้

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

  1. หัวเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดผง
  2. หม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ
  3. ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 9×14 นิ้ว
  4. แอลกอฮอล์ 70%
  5. แอลกอฮอล์ 95%
  6. ข้าวสาร
  7. ถ้วยตวงหรือแก้วน้ำ
  8. ทัพพีตักข้าว
  9. เข็มฉีดยา เบอร์ 18
  10. ยางวง

วิธีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสด

  • ล้างข้าวสารเจ้าให้สะอาดอย่างน้อย 5 ครั้ง
  • หุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ ในอัตราข้าว 3 ส่วน+ น้ำ 1 ส่วน เมื่อข้าวสุกให้ใช้ทัพพีซุยข้าวให้ทั่ว
  • ตักข้าวสุก ขณะข้าวยังร้อน เพื่อช่วยทำลายจุลินทรีย์จากอากาศที่อาจปนเปื้อนในถุงข้าว ตักข้าวสุกประมาณ 2 ทัพพีครึ่ง ต่อถุง (250 กรัม) ใส่ในถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 9×14 นิ้ว

  • เกลี่ยข้าวให้แบนราบ รีดอากาศออกจากถุงให้ถุงพลาสติกแนบกับข้าว เพื่อลดการเกิดหยดน้ำ จากนั้นรอให้ข้าวอุ่น (โดยใช้หลังมือแตะที่ถุงข้าว ให้ร้อนพอทนได้) จึงนำไปใส่หัวเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (ราเขียว)
  • เปิดปากถุงให้น้อยที่สุด แล้วใส่หัวเชื้อลงในถุงข้าวในตู้เขี่ยเชื้อเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ใส่หัวเชื้อเพียงเล็กน้อยประมาณ 2-3 เหยาะ (1กรัม) ต่อถุง

  • รัดยางตรงปากถุงให้แน่น ก่อนเขย่าถุงข้าวเบา ๆ เพื่อให้หัวเชื้อกระจายทั่วถุง
  • รวบถุงให้บริเวณปากถุงพอง ก่อนใช้เข็มแทงรอบ ๆ ปากถุงที่ รัดยางไว้ ไม่น้อยกว่า 60 รู

  • เกลี่ยข้าวในถุงให้แผ่กระจายแบนราบ ดึงบริเวณกลางถุงขึ้น เพื่อให้มีอากาศเข้าไปในถุงข้าว จากนั้นบ่มเชื้อเป็นเวลา 7 วัน โดยวันที่ 3 ให้จับถุงเขย่าเพื่อกระตุ้นการสร้างสปอร์
  • วางถุงเชื้อไม่ให้ซ้อนทับกัน ในห้องที่มีแสงสว่าง และอากาศถ่ายเท ปลอดจากมด ไร และสัตว์อื่นๆ

  • เมื่อครบ 7 วันเชื้อจะเจริญเป็นสีเขียวเต็มถุง สามารถนำไปใช้ได้ทันที หากใช้ไม่หมดควรเก็บ ในตู้เย็นช่องธรรมดาไม่เกิน 1 เดือน

การใช้เชื้อราตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคข้าวที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

  • ครั้งที่ 1 เตรียมเมล็ดพันธ์ แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยน้ำเปล่า 1 คืน จากนั้นแช่ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสด อัตรา 1 กก. ต่อน้ำ 100 ลิตร นาน 30 นาที ยกขึ้นบ่มข้าวต่ออีก 1 คืน จึงนำเมล็ด ไปหว่านลงแปลง
  • ครั้งที่ 2 อายข้าว 20-30 วัน ใส่เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดพร้อมการปล่อยนำเข้านา อัตรา 2 กก./ไร่ครั้งที่ 3 อายุข้าว 60-70 วัน ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดให้ทั่วแปลงนา อัตรา 1 กก./น้ำ 100 ลิตร
  • ครั้งที่ 4 อายข้าว 90 วัน ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดให้ทั่วแปลงนา อัตรา 1 กก./น้ำ 100 ลิตร
  • ครั้งที่ 5 อายุข้าว 100 วัน ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดให้ทั่วแปลงนา อัตรา 1 กก./น้ำ 100 ลิตร

หมายเหตุ : ช่วยลดการเกิดโรคใบจุด โรคไหม้ โรคกาบใบแห้ง และโรคเมล็ดด่างได้

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคพืช

การคลุกเมล็ด
อัตราการใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าซนิดสด 10 กรัม หรือ 1 ช้อนแกง ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

การรองก้นหลุม
อัตราการใช้ ต้นเล็ก 30-60 กรัม ต่อหลุม และ ต้นใหญ่150-300 กรัม ต่อหลุม โดยการโรยเชื้อรา ไตรโคเดอร์ม่า ชนิดสดลงในหลุม แล้วคลุกเคล้ากับดินในหลุม

การผสมวัสดุปลูก
อัตราการใช้
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสด 1 ส่วน ผสมกับ วัสดุปลูก 4 ส่วน เพื่อใช้สำหรับเพาะกล้าในกระบะเพาะเมล็ด หรือ ถุงเพาะชำ

การหว่านลงดิน
มีส่วนผสม ดังนี้ : เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ชนิดสุด 1 กิโลกรัม ต่อรำละเอียด 4 กิโลกรัมต่อปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม ผสม คลุกเคล้ากันให้ทั่ว

อัตราการใช้ นำส่วนผสมที่ได้หว่านรอบโคนต้น ในอัตรา 30-60 กรัมต่อต้น และหว่านบริเวณใต้ทรงพุ่ม ในอัตรา 150-300 กรัมต่อตารางเมตร

การฉีดพ่น
อัตราการใช้
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสุด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำฃ100 ลิตร โดยฉีดพ่นลงดิน หรือบริเวณรากของพืช หรือฉีดพ่นส่วนบนของต้นพืช

การใช้ไปกับระบบน้ำ
อัตราการใช้
เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร แล้วปล่อยไปตามระบบน้ำ

การทาแผล บริเวณลำต้นไม้ผลที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย
อัตราการใช้ เชื้อราไตรุโคเดอร์ม่าชนิดสด 1 กิโลกรัม ผสม กับฝุ่นแดง (ชนิดเดียวกับที่ใช้ทาหน้ายาง) ผสมน้ำ 2 ลิตร ถากบริเวณแผลที่เป็นโรคออก แล้วนำเชื้อราที่ผสมแล้วทาที่บริเวณแผลโดยใช้แปรงทาสี

ข้อควรระวัง ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราในช่วง 7 วัน ก่อนหรือหลังการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรต้านอารักขาพืช จังหวัดพิษณุโลก


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ