มือใหม่เริ่มต้นเลี้ยงหมูป่า ต้องศึกษาอะไรบ้าง ?
มือใหม่เริ่มต้นเลี้ยงหมูป่า
หมูป่า นั้นว่ากันว่ามีพื้นเพหรือถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียนี่เองในทวีปอื่นอาจมีบ้างก็น้อย และโดยเฉพาะในเอเชียนั้นถือได้ว่าเป็นแหล่งหมูปาแหล่งใหญ่ที่สุด หมูบำาในประเทศไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sus scrofa ที่พบก็มีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้น แต่ก็จะรู้จักลักษณะของแต่ละพันธุ์ เราควรมาทำความรู้จักลักษณะโดยทั่วไปกันเสียก่อน
พันธุ์หมูป่าที่นิยมนำมาเลี้ยง
ในเมืองไทยมีหมูป่าอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาวและพันธุ์หน้าสั้น บางคนได้ยินดังนี้มักประมาณเอาเองว่าคงดูไม่ยากว่าตัวไหนเป็นพันธุ์หน้ายาว ตัวไหนเป็นพันธุ์หน้าสั้น แต่เรื่องจริงๆ แล้วจะประมาณเอาจากความสั้นยาวของหน้าไม่ได้ เพราะบางตัวที่เป็นพันธุ์หน้าสั้นอาจมีหน้ายาวกว่าพันธุ์หน้ายาวก็ได้หากมีอายุที่แตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยส่วนประกอบอื่นๆ เข้าช่วยกล่าวคือ
- พันธุ์หน้ายาว ลักษณะพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ หน้ายาวกะโหลกเล็กลำตัวยาวหุ่นเพียวสูง อายุ 2 ปี ขึ้นไปมีความสูงขนาดเอวผม (80 – 90 เซนติเมตร ขาเล็กและยาวเป็นกลีบเท้าเล็กแต่แข็งแรงมากคล้าย ๆ เก้งจะออกในลักษณะหน้าสูงท้ายต่ำ หูเล็ก แนบชิดลำตัว มีขนสีขาวขึ้นด้านใต้แก้มทั้งสองช้าง และมีขนเป็นแผงขึ้นจากท้ายทอยไปถึงสันหลังขนจะยาวประมาณ 6 นิ้ว เวลาตกใจขนจะชูสูงขึ้นลักษณะขนโดยทั่วไปจะขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 รูๆ ละ 1 เส้น ตัวผู้จะมีเขี้ยว ตัวเมียไม่มีเขี้ยว และตัวผู้จะมีผาน หรือผื่นไขมัน ซึ่งหนามาก ปืนยิงไม่เข้า ตรงไหล่ขาหน้า ทั้ง 2 ข้าง และมีตุ่มนม 5 คู่ พันธุ์หน้ายาวจะหากินในป่าตื้น
- พันธุ์หน้าสั้น ลักษณะใกล้เคียงกับพันธ์หน้ายาว แต่หัวกะโหลกจะใหญ่กว่า ดูแล้วเหมือนพันธุ์หน้ายาวแต่พันธุ์หน้าสั้นมีลักษณะลำตัวจะกลม เตี้ย หูเล็ก ขาสั้น และหนังจะหนากว่าพันธุ์หน้ายาวนมไม่เกิน 10เต้า จะหากินป่าลึก จะมีจ่าฝูงฝูงหนึ่งประมาณ 30 ตัว ตัวเมียใกล้คลอดจะแยกจากฝูงไปเลี้ยงลูกประมาณ 4 เดือน และจะเข้าฝูงใหม่
การให้อาหารเลี้ยงหมูป่า
อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในหลายๆ อย่างทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าหมูป่าจะเจริญเติบโตให้ผลผลิตเต็มความสามารถ ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพอาหารที่กินเข้าไป
อาหารหลัก คือ ผักและเศษอาหารที่มีอยู่ทั่วไป เช่น ผักบุ้ง ผักตบ หญ้าขน หรืออื่น ๆ ที่พอจะหาได้ แต่ในอาหารที่ให้กินนี้ควรผสมธาตุอาหารอื่นบ้าง เช่น รำ หรือหัวอาหารนิดหน่อยทั้งจะต้องให้ในปริมาณเหมาะสมไม่ใช่กินกันตลอดเวลา หมูบำาจะได้มีเนื้อหนา ไม่มีมัน ถ้าให้หัวอาหารหรืออาหารถุงก็ได้ หมูป่าจะโตไว ตัวใหญ่แต่ปัญหาจะตามมา คือทำให้มีไขมันมาก หนังไม่กรอบ และไม่หนา ถ้าหมูป่ามีปัญหาแบบนี้ การจำหน่ายจะมีปัญหาทันที
อาหารที่ใช้เลี้ยงหมูป่า แบ่งเป็น 5 ระยะ โดยให้วันละสองมื้อ (เช้า-เย็น)
- อาหารสำเร็จหมูดูดนม ให้จนกระทั่งถึงลูกหมูหย่านม
- อาหารหมูรุ่น (ช่วงนี้จะกินอาหารประมาณวันละ 0.5 กิโลกรัม) ให้กับลูกหมูหลังหย่านมนาน 2.5 เดือน
- อาหารหมูขุน (ช่วงนี้จะกินอาหารประมาณวันละ 0.5 กิโลกรัม)ให้จนหมูมีอายุ 1 ปี แล้วส่งชำแหละจะได้น้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม
- อาหารพ่อแม่พันธุ์และระยะหลังตั้งท้อง แม่หมูที่ผสมติดแล้วจะให้กินอาหารวันละ 1 กิโลกรัมเป็นเวลา 2.5 เดือน แล้วจึงให้อาหารเพิ่มขึ้นเป็น 15 กิโลกรัม ต่อวันจนถึงอีก 2 อาทิตย์จะคลอด ให้กินอาหารเพียง 1 กิโลกรม ต่อวัน
- อาหารแม่หมูเลี้ยงลูก เมื่อคลอดแล้วให้กินอาหาร 3 กิโลกรัมต่อวัน ว่ากันว่าการให้อาหารหมูปำจะประหยัดมาก เพราะหมูป๋กินอาหารน้อยกว่าหมูบ้านถึง 5 เท่า อาหารเลี้ยงหมูบ้าน 1 ตัว จึงเลี้ยงหมูป่าได้ 5 ตัว ปกติจะให้อาหารหมูป่าวันละ 2 มื้อ มื้อละครึ่งกิโลกรัม
การจัดการและการป้องกันโรค
การเลี้ยงหมูป่า นั้นมีความคล้ายคลึงกับการเลี้ยงหมูบ้านมาก จะมีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้างก็ตรงที่ว่าแสงแดด หมูป่ต้องการแสงแดดมากกว่าหมูบ้าน จึงควรเปิดโอกาสให้มีแสงแดดส่องถึงคอกหมู ความสงบ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหมูบำาตกใจง่าย ประสาทสัมผัสรับรู้เร็วที่สุด โดยเฉพาะเรื่องเสียง หากมีเสียงดังแล้วจะวิ่งกันไม่หยุดโดยเฉพาะเล็บของหมูปาจะตะกุยกับพื้น มาก ๆ เข้ามันแรงขนาดขุดพื้นปูนจนมีกลิ่นเหม็นไหม้เลยทีเดียวฉะนั้นพื้นหินจึงจำเป็นจะต้องขัดมันใครที่คิดว่าการเลี้ยงหมูบำจะต้องการให้หมูปัออกกำลังกายมากหรือวิ่งมาก ๆ เพื่อไม่ให้มีไขมันนั้นจึงไม่เป็นเรื่องจริง
- ความสะอาด ในด้านความสะอาดก็เช่นกันหมูบำาแทนที่จะชอบเลอะเทอะเหมือนว่าอยู่ดง แต่ความจริงชอบความสะอาด ควรจะมีการฉีดน้ำล้างคอกทุกวันและราดน้ำยาฆ่าเชื้อทุกอาทิตย์จะช่วยป้องกันโรคได้ดีมากหากโรงเรือนหรือคอกเลี้ยงทำให้สะอาดดีแล้วจะไม่มีปัญหาอะไรเกี่ยวกับโรค เพราะปกติหมูบำามีความต้านทานโรคสูงอยู่แล้ว ไม่มีโรคประจำตัวอะไรมากนัก
- การป้องกันโรค หมูป่าไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคนักเพราะเป็นสัตว์ที่แข็งแรงอยู่แล้ว อาจมีบ้างก็ในลูกหมูก่อนหย่านม เช่นท้องร่วง โรคปอดบวม แต่มีอาการเพียงเล็กน้อยเมื่อให้ยาที่ถูกต้องก็ไม่มีปัญหาอะไร (โรคของหมูป่ามันจะไม่ค่อยแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น ถ้าหากว่าโรคยังคุกคามไม่มาก เมื่อหมูไม่แสดงอาการตั้งแต่แรกที่โรคเข้าแทรกก็ทำให้เราไม่รู้ว่าหมูเป็นโรค จะรู้ก็ต่อเมื่อโรคแทรกซ้อนมากขึ้นจนแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว จึงแสดงอาการให้เห็น บางตัววันนี้ยังสังเกตเห็นท่ทางยังปกติอยู่แต่เมื่อถึงวันรุ่งขึ้นหมูตัวนั้นก็นอนตายคาคอกก็มี)
- โรคอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วนี้ก็มีโรคขี้เรื้อน ซึ่งมักจะเกิดในหน้าหนาว แต่โรคนี้เราก็สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการฉีดยา โดยในการฉีดยานั้น ให้ฉีดไปบนสันหลังของหมูปา ทั้งนี้คนฉีดจะอยู่นอกคอก เมื่อหมูป่าเข้าใกล้ก็เอาเข็มจิ้มลงไปบนหลังแล้วฉีดปล่อยยาเข้าฃ
บทความอื่นที่น่าสนใจ