วิธีเลี้ยงปูนาในบ่อปูนซีเมนต์ จัดการง่ายสะอาด
สวัดดีครับ วันนี้จะมาพูดถึง วิธีเลี้ยงปูนาในบ่อปูนซีเมนต์ ในอดีตนั้นปูนากับนาข้าวเป็นของคู่กัน สมัยก่อนชาวนานิยมนำปูนามาใช้ประกอบอาหาร เพราะหาได้ง่ายมากตามธรรมชาติ แต่การทำนาสมัยนี้มักใช้สารเคมี ทำให้ปัจจุบันปูนาที่อาศัยอยู่ตามนานั้นใกล้จะสูญพันธ์แล้ว สังเกตได้จากการออกไปหาเก็บปูนาตามธรรมชาตินั้นจะหาได้ยากมาก หรือเราจะเห็นปูนาตายเป็นจำนวนมากในนาข้าว จึงเกิดเป็นการเพาะเลี้ยงปูนาไว้เป็นอาหาร พร้อมทั้งขายหรือจำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย และเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ทำเงินให้เกษตรกรได้ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ
มาทำความรู้จักกับ “ปูนา” ก่อนลงมือเลี้ยง
“ปูนา” (Rice-field crabs) เป็นสัตว์น้ำจืดที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตชาวนาไทยมาช้านาน ไม่เพียงเป็นแหล่งอาหาร ปูนายังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ การแพทย์ และวัฒนธรรม แต่ด้วยวิถีการทำนาที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ปริมาณปูนาลดลง จนต้องนำเข้าปูนาจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันได้เกิดการส่งเสริมให้เกษตรกรไทยเลี้ยงปูนาเป็นอาชีพเสริม ซึ่งไม่เพียงสร้างรายได้หากยังช่วยอนุรักษ์ปูนาให้อยู่คู่กับสังคมไทย การเริ่มต้นเลี้ยงปูนาเกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจชีววิทยา และ วิถีชีวิตของปูนา และควรทดลองเลี้ยงในบ่อพลาสติก หรือบ่อซีเมนต์ สังเกตพฤติกรรม และทำความเข้าใจปูนาก่อนขยายการเลี้ยง
ในประเทศไทยพบสายพันธุ์ปูนาหลากหลายชนิดตามแต่ละภูมิภาคเช่น ภาคกลาง กลุ่มปูนา Sayamia sp. ถิ่นกำเนิดที่ราบลุ่มภาคกลางสายพันธุ์กำแพงเพชร Sayamia germaini (Rathbun, 1902) สายพันธุ์สมเด็จพระเทพฯ Sayamia bangkokensis (Naiyanetr, 1982) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มปูนาสกุล Esanthelphusa sp. (Ng &Naiyanetr, 1993 (อีสานเทลพูซา) เป็นพันธุ์พื้นเมืองของภาคอีสาน เช่น สายพันธุ์สุรินทร์ สายพันธุ์เมืองบัว สายพันธุ์บ้านสำโรง เป็นต้น
วงจรชีวิตของปูนา
แม่ปูไข่ หลังผสมพันธุ์ประมาณ 2 ส้ปดาห์ แม่ปูจะตั้งท้องและให้ไข่ใต้ฝาท้องเฉลี่ย 200-500 ฟอง ไข่สีเหลืองอมส้ม “ช่วงนี้แม่ปูมักเก็บซ่อนตัวในรู เพื่อป้องกันอันตราย”
ลูกปู ไข่ปูนามีอายุ 3-5 สัปดาห์ จะพัฒนาเป็นตัวอ่อน อยู่ภายในผาท้องแม่ เรียกช่วงนี้ว่า “แม่ปูอุ้มท้อง”
ปูอ่อน ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ลอกคราบเป็นลูกปูวัยอ่อน เมื่อแข็งแรงพอแม่ปูจะใช้ก้ามเขี่ยลูกปูให้หลุดจากจับปิ้ง ลูกปูนาจะกินพืชน้ำ สาหร่าย ตัวอ่อนแมลงอินทรีย์สารในดิน ชากพืช ซากสัตว์ หรือแพลงก์ตอน “ช่วงนี้ลูกปูมีอัตราการลอกคราบถี่มาก ทำให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว”
ปูวัยเจริญเติบโต อายุประมาณ 1 เดือนครึ่ง อัตราการลอกคราบจะลดลง “การลอกคราบแต่ละครั้ง ปูขยายขนาดลำตัวเพื่อเจริญเติบโตเต็มที่ มีขนาดใหญ่กว่าเดิมขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำ สารละลายแร่ธาตุในน้ำออกซิเจนในน้ำ และแสงที่สร้างให้กระดองแข็งแรง”
ปูตัวเต็มวัย อายุประมาณ 4-8 เดือน เริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ “ปูนามีอายุเฉลี่ย 2 ปี”
เตรียมบ่อปูนซีเมนต์เลี้ยงปูนา
เริ่มต้นจากการเตรียมบ่อ การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์นั้นมีข้อดีคือ ดูแลง่าย ปูไม่ไต่หนีใช้พื้นที่น้อย ลงทุนน้อย ( สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อปูนขนาดใหญ่ และ วงบ่อปูนขนาดเล็ก แต่การทำวงบ่อปูนขนาดเล็กจะใช้ต้นทุนในการทำบ่อที่ต่ำกว่า เหมาะสำหรับมือใหม่ที่อ ยากเริ่มต้นเลี้ยงจากน้อยๆก่อน ) นำวงบ่อปูนมาตั้ง แนะนำให้ตั้งในที่ร่ม เพราะปูไม่ชอบอากาศร้อน แล้วต่อท่อระบายน้ำออกด้านล่าง เทปูนปิดที่ฐานบ่อ ปล่อยทิ้งไว้ 3 วันรอให้ปูนเซ็ตตัวและแห้งสนิท
เมื่อปูนเซ็ตตัวจนแห้งแล้วเติมน้ำใส่บ่อจนเต็มบ่อ ใส่ต้นกล้วยและเกลือสินเทา ลงไปแช่ทั้งไว้ 7-15 วัน ( ต้นกล้วยช่วยชะล้างฝุ่นผงปูนที่เคลือบอยู่ตามผิวของวงบ่อปูนออกและกำจัดปรับค่า pH ในบ่อให้สมดุล ส่วนเกลือนั้นในบ่อ เป็นวิธีการทำความสะอาดบ่อที่มีประสิทธิภาพสูง )
เมื่อแช่น้ำทิ้งไว้ครบตามที่กำหนดไว้แล้วให้ถ่ายน้ำทิ้ง ล้างทำความสะอาดซ้ำอีกรอบหลังจากนั้นให้นำ ดินเหนียว หรือดินโคลน มาใส่ลงในบ่อให้หนาประมาณ 20 เซนติเมตร หากะละมังหรือภาชนะที่ก้นไม่ลึกมากมาใส่น้ำแล้วฝังลงไปในพื้นดิน หรือทำพื้นดินให้ลาดเอียงลงไปหาแอ่งน้ำในบ่อ เป็นบ่อน้ำไว้ให้ปูได้ลงไปแช่น้ำเล่น หาหลังคากระเบื้อง อิฐบล็อก มาวางไว้ในบ่อปูน ไว้สำหรับเป็นบ้านของปูหรือไว้ให้ปูหนีเข้าไปหลบเมื่อตกใจ แล้วถ้ามีอะไรที่เป็นรูขนาดพอดีตัว ปูจะเข้าใจว่าเป็นบ้าน ทำให้เข้าไปอยู่อาศัยตามสัญชาตญาณ เป็นการเลียนแบบสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด ช่วยลดความตึงเครียดเพิ่มโอกาสให้ปูอยู่รอดได้มากขึ้น
พ่อแม่พันธุ์ปูนา
พ่อแม่พันธุ์ ในระยะแรกก็คงต้องรวบรวมจากธรรมชาติ จะเริ่มเพาะจากพ่อแม่พันธุ์ก็ได้ หรือจะใช้แม่ปูที่มีไข่ที่ จับปิ้งและมีลูกปูวัยอ่อนที่ติดกระดองอยู่แล้วมา อนุบาล ก็จะประหยัดเวลาและต้นทุนในการผลิตได้มาก
วิธีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปูนา
ทำการคัดเลือกพ่อปูหนุ่มและแม่ปูหนุ่ม ขนาดตัวกลางๆ เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ใหญ่มากขนาดตัวประมาณ 1.5 นิ้ว สีของเปลือกกระดองต้องไม่เข้มจัด กระดองต้องไม่แข็งเกิน เพราะปูสีเข้ม กระดองแข็งคือปูแก่ หากนำมาผสมพันธุ์ในกรณีพ่อปูแก่ แม่ปูจะไม่ยอมรับที่จะให้พ่อปูผสมพันธุ์ กรณีปูเพศเมียแก่ แม่ปูก็จะให้ลูกไม่ดกเท่าที่ควร เนื่องจากตลอดชีวิตปูจะให้ลูกได้เพียง 2-3 ครั้ง มีเพียงปูสาวคลอกแรกเท่านั้นที่ให้ลูกดกที่สุดคือประมาณ 500-1,000 ตัว สำหรับแม่ปูท้องที่สองหรือท้องที่สามจะให้ลูกปูเพียง 200- 500 ตัว ซึ่งวิธีสังเกตแม่ปูนาที่มีไข่แล้ว แม่ปูจะยืนเขย่งอยู่บนบก ไม่ชอบลงน้ำ เกษตรกรจะต้องแยกแม่ปูออกมาให้อยู่ในน้ำตื้น มีการวางสิ่งหลบซ่อน เช่นอิฐบล็อกหรือท่อ PVC ตัดสั้นเป็นท่อน ๆ เพื่อให้แม่ปูใช้หลบซ่อน และระดับความสูงของน้ำที่เหมาะสมของแม่ปูท้องควรอยู่ที่ระดับ 3-5 เซนติเมตร แม่ปูท้องต้องการอากาศเย็นสบายและความเงียบสงบ จะชอบหลบซ่อนตัวในที่แคบ ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงจากการถูกทำร้ายจากปูเกเรตัวอื่น ๆ และผู้เลี้ยงต้องไม่รบกวน ห้ามหยิบจับแม่ปูมาเปิดท้องเพื่อดูไข่ หรือห้ามไล่แม่ปูลงน้ำเป็นอันขาด เพราะจะทำให้แม่ปูเครียด สลัดไข่ทิ้งก่อนกำหนดคลอด หรือแม่ปูอาจเครียดจนตายได้
อาหารสำหรับเลี้ยงปูนา
การให้อาหารโดยใช้อาหารปลาดุกเม็ดเล็กเสริมด้วยข้าวสวยหุงสุกคลุกเคล้าให้เข้ากันหว่านประมาณ 1 กำมือ ในช่วงเย็นเนื่องจากปูนาจะออกหากินตอนกลางคืน และหมั่นดูแลบริเวณที่อยู่ของปูให้สะอาดโดยต้องเก็บเศษอาหารที่ปู กินไม่หมดทิ้ง และเก็บปูที่ก้ามหลุดออกเนื่องจากจะส่งผลให้โดนปูตัวอื่นมารุมทำร้ายและตายได้ และหากทิ้งอาหารหรือ ปูที่ตายไว้นานๆจะเกิดกลิ่นเหม็นเน่าและมีเชื้อราเกิดขึ้นทำให้ปูเกิดโรคได้ง่ายปูนาจะขุดรูเพื่อจำศีล และใช้เป็นที่หลบซ่อนตัวจากศัตรูธรรมชาติ เมื่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์ปูจะออกมากินอาหารอย่างสม่ำเสมอ และจะผสมพันธุ์อีกครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝนในปีถัดไป
วัยอ่อน (หลังออกจากจับปิ้งประมาณ 10 วัน) อายุ 1-2 สัปดาห์ เส้นฟางที่ผ่าซีกแล้ว ผักตบต้นอ่อน รากอ่อน สาหร่าย และเทาน้ำ กับก้อนดินเหนียวอินทรีย์สาร
วัยอนุบาล – วัยเจริญพันธุ์ อายุ 3 สัปดาห์ – 4 เดือน เน้นโปรตีนจากไข่แดงต้มสุก (ช่วง 5 สัปดาห์แรก จากนั้นลดปริมาณลงไข่แดง 1 ฟอง ต่อลูกปูประมาณ 400 ตัว ต่อมื้อ)โคนรากผักตบอ่อนๆ ข้าวสุก เส้นฟางผ่าชีก (แต่ลดปริมาณลง)สาหร่ายกับก้อนดินเหนียวอินทรีย์สาร ในช่วงหลังจาก 1 เดือนนี้เพิ่มปลาเล็กปลาน้อย กุ้งฝอยสับละเอียด และอาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงลูกอ๊อด (โปรตีนประมาณ 38% – 42%) ยังคงก้อนดินเหนียว อินทรีย์สาร ต้นผักตบและสาหร่ายไว้
ปูตัวเต็มวัย อายุ 4 เดือนขึ้นไป ข้าวสุกหรือข้าวสีนิลสุก (ปริมาณข้าว 1 ช้อนโต๊ะต่อปูประมาณ 20 ตัว) ผสมปลาเล็กปลาน้อยกุ้งฝอย หมูสับ โครงไก่ อาหารหมัก ปลาดุกสับไส้เดือน กุ้งฝอยสับละเอียดผสมอาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงลูกอ๊อด (โปรตีนประมาณ 38% – 42%) สลับวนไปไม่ควรให้ชนิดเดียวซ้ำหลายวันเสริมด้วยผลไม้สุกเป็นบางครังยังคงก้อนดินเหนียวอินทรีย์สาร ต้นผักตบและสาหร่ายไว้
การเจริญเติบโต
ปูนามีการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบเช่นเดียวกับปูชนิดอื่น ๆ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วปูนาจะลอกคราบประมาณ 13-15 ครั้งก็จะโตเป็นปูเต็มวัย ได้ขนาดตามที่ตลาดการ ต้องใช้เวลา ประมาณ 6-8 เดือน
การลอกคราบของ ปูนา
ปูที่จะลอกคราบสังเกตได้จากรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองจะกว้างมากกว่าปกติเมื่อใกล้จะลอกคราบปูจะนิ่งและเหยียดขาออกไปทั้งสองข้าง จากนั้นรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองก็จะเปิดออก ส่วนท้ายพร้อมกับขาเดินคู่สุดท้ายจะออกมาก่อน ขาคู่ถัดมาจะค่อย ๆ โผล่ออกมาตามลำดับ ส่วนก้ามคู่แรกจะโผล่ออกมาเป็นอันดับสุดท้าย ระยะเวลาที่ใช้เวลาลอกคราบทั้งหมด ประมาณ1ชั่วโมง
ระยะเวลาในการจับปูนา ราคาในการจำหน่าย
ระยะเวลาในการจับปูนา จะอยู่ในช่วงประมาณ 2 เดือนครึ่งถึง 3 เดือน เพื่อที่จะจับขายเป็นปูจ๋าสำหรับทอด แต่ถ้าหากอายุ 6 เดือนเราสามารถเริ่มทำเป็นพ่อแม่ พันธุ์ปูนาได้ ให้ลูกประมาณ 700-800 ตัว โดยอัตราการรอดขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและการเลี้ยงดู ส่วนใหญ่มักจะรอด ประมาณ 450 ตัวถึง 500 ตัว
ตลาดปูนาหรือช่องทางจำหน่าย
ด้านการตลาดในปัจจุบันแต่ละจังหวัดจะมีพ่อค้า แม่ค้า คนกลาง โรงงานปูดอง พ่อค้าแม่ค้า ร้านส้มตำ พ่อค้า แม่ค้า ที่นำไปดองขาย ส่วนเรื่องของราคาก็จะมีการกำหนดเกณฑ์ราคาขั้นต่ำไว้ ถ้ามีการซื้อขายที่สูงกว่าราคาขั้นต่ำก็สามารถทำได้ แต่ห้ามขายต่ำกว่าราคาที่กำหนด
- พ่อแม่พันธุ์ขายราคาคู่ละ 100 บาท เป็นปูที่คัดแล้วแข็งแรง สมบูรณ์ สีสันดี กระดองดี ขายาวก้ามยาว ส่วนลูกปูไม่แนะนำให้นำไปเลี้ยง เพราะมีโอกาสตายสูง ในส่วนของปูกิโล คือ ปูที่ไม่แข็งแรง ไม่สามารถทำพ่อแม่พันธุ์ได้ จะถูกคัดขายเป็นปูกิโลเพื่อนำไปทำอาหาร
- ปูจ๋าช่วงนี้ราคาส่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 100-120 บาท
- ถ้าเป็นปูดอง จะมีดองเกลือ ดองน้ำปลา ดองซอสเกาหลี ญี่ปุ่น ราคาตั้งแต่ 150-500 บาท/กก.
- ปูสด ราคาอยู่ที่ 100-180 บาท/กก. ราคาขึ้นอยู่กับขนาด ยิ่งขนาดใหญ่ แล้วปูที่มีอายุ 6 เดือน ขึ้นไป จะสามารถนำก้าม เนื้อ และมันปู มาแยกขายได้ต่างหาก
- อย่างขาและส่วนอื่นๆ ที่เหลือจะนำมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพซึ่งเป็นไคโตซาน ฉีดพ่นในไร่นาสวน หรือปรับสภาพน้ำได้ด้วย
- ตลาดออนไลน์ เช่น กลุ่ม Facebook,เว็บไชต์ต่างๆ เป็นต้น
ศัตรูที่ต้องระวัง
นกกระปูด นกแสก หนูนาและพังพอนแมงมุม (ช่วงปูวัยอ่อน)มดคันไฟหรือมดแดง (ช่วงปูลอกคราบ) หรือ เลี้ยงแบบน้ำปนดิน
ปรลิตในปูนา มีทั้งพยาชิไปไผัและปสิงชันหยุดผู้เลี้ยงปูต้องเข้าใจวงจรชีวิตปรสิตของปู เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการนำสิ่งต่างๆที่อาจเป็นพาหะให้ปรสิตอยู่ในตัวปูเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อจากปรสิตในปู เพื่อลดความเสี่ยงการติดต่อถึงคน รับประทานปูนาแบบปรุงสุก
บทความอื่นที่น่าสนใจ