บทความเกษตร » วิธีการผลิต จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ไว้ใช้งานเอง แบบง่ายๆ

วิธีการผลิต จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ไว้ใช้งานเอง แบบง่ายๆ

19 พฤศจิกายน 2022
998   0

วิธีการผลิต จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ไว้ใช้งานเอง แบบง่ายๆ มือใหม่ก็ทำได้

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง


หลายคนคงจะพอนึกภาพออกถ้าเป็นคนที่เคยศึกษา เรื่องของจุลินทรีย์ มาบ้าง แต่ถ้าเป็นมือใหม่นั้น สำหรับคำว่า “จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง” นั้นคงเป็นเรื่องที่ไกลตัว แล้ว  จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง คืออะไร จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (photosybthetic bacteria; PSB) เป็นแบคทีเรียพบกระจาย ทั่วไปในธรรมชาติ ตามแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม ทะเลสาบน้ำเค็ม น้ำทะเลสาบที่มีความเป็นด่าง น้ำที่มี ความเป็นกรด น้ำพุร้อน น้ำทะเลบริเวณขั้วโลกเหนือ นอกจากนี้ ยังพบตามแหล่งน้ำเสีย บ่อบำบัดน้ำเสีย



ความมหัศจรรย์ของแบคทีเรียชนิดนี้ อยู่ตรงกระบวนการที่อยู่ในเซลล์ เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีแสงก็เกิดกระบวนการที่ใช้แสง ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่มีแสงก็เปลี่ยนมาใช้อีกกระบวนการที่ไม่ใช้แสงทำให้มี ชีวิตอยู่ได้ เพราะฉะนั้นเราก็ใช้ประโยชน์จากการกระบวนการดำรงชีวิตตรงนี้ ในแง่ของการเลี้ยงแง่ของการบำบัดน้ำเสีย เอามาใช้ในการบำบัดดินโดยไม่ต้องเอามาพักในบ่อซึ่งเป็นระบบบำบัด

ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

  1. ช่วยตรึงไนโตเจนในดิน เพิ่มไนโตเจนให้กับพืช
  2. เร่งการเจริญเติบโต ทำให้พืชแข็งแรงแล้วโตเร็วเป็น 3 เท่า
  3. เมื่อใช้ทางดินทำให้รากพืชแข็งแรงและหาอาหารได้ดีขึ้น ใช้กับนาข้าวช่วยเร่งการแตกกอของข้าว
  4. ช่วยในการย่อยธาตุอาหารและวัตถุอินทรีย์ในดิน เพื่อให้พืชดูดซึมไปใช้ได้อย่างง่ายดาย
  5. ป้องกันพืชโดยการทำลายจุลินทรีย์ไม่ดีในดิน ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืช
  6. ช่วยลดก๊ซไฮโดรซัลไฟด์ (H2S) ในดินช่วยให้รากของพืชขยายได้ดีและทำให้พืชกินปุ้ยได้ดีขึ้น
  7. ช่วยลดตันทุนการใช้ปุยเคมีหรือปุ้ยหลักลง 50 %
  8. ช่วยให้ผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 % เนื่องจากพืชมีความสามารถในการดูดกินปุ๋ยได้ดีขึ้น ช่วย ให้พืชมีความแข็งแรงและต้านทานโรคได้ดี
  9. เซลล์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะประกอบด้วยโปรตีนประมาณร้อยละ 60 ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ประกอบด้วย กรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน และยังมีวิตามินและแร่ธาตุ เช่น B1 B2 B6 B12 กรดโฟลิค วิตามินซี วิตามินดีวิตามินอี วัตถุสีแดง และสารโคแฟคเตอร์ เช่น ยูบิควิโนน โคเอนไซม์คิวเท็น ไซโตไคนิน ซีเอติน ออกซิน กรดอินโดล -3- อะซิติ๊ก กรดอินโดล -3-บิวทีริก ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

บทบาทของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

มีความสำคัญในกระบวนการนำก๊ซคาร์บอนไดออกไชด์ไปใช้ (CO2 – assimilation)และการตรึงไนไตรเจน (nitrogen fixation) นอกจากนี้ยังมึบทบาท สำคัญในห่วงโซ่อาหารซึ่งสัตว์ขนาดเล็ก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมา ใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ในน้ำเสียจากบ้านเรือนและน้ำเสียจากการทำปศสัตว์สามารถนำบัดด้วย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Kobayashi, 2000)

ขั้นตอนการทำ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

สำหรับขั้นตอนการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง นั้น ง่ายมากๆ แค่นำน้ำที่มาจากแหล่งธรรมชาติที่สะอาด ไม่ขุ่นมาก กรองใส่ขวดลิตรชนิดใสเตรียมไว้ตามต้องการ ไม่ต้องใส่เต็มขวด ให้เหลือพื้นที่หายใจเล็กน้อย ให้สามารถเติมหัวเชื้ออีก 1-2 ช้อนโต๊ะลงไปได้ จะได้ไม่เต็มจนล้น ปิดฝาวางพักน้ำไว้ 2-3 วัน

เตรียมนำไข่ไก่ ไข่เป็ด หรือไข่อะไรก็ได้ ประมาณ 2-3 ฟองก็ทำได้เกือบ 10 ขวดแล้ว ส่วนประกอบอื่นๆ มีหรือไม่มีก็ได้ เช่น น้ำปลา ผงชูรส นมเปรี้ยว สารพัดสูตร แต่แนะนำ นมเปรี้ยวขวดเล็กๆ หรือน้ำปลา ซัก 1 ช้อนโต๊ะ ก็พอ

วิธีการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไว้ใช้งานเอง ง่ายมากๆ

เริ่มลงมือผสมจุลินทรีย์

  • ตอกไข่ใส่ถ้วย  ตีไข่เหมือนทำไข่เจียว เติมส่วนประกอบอื่นๆ เพียง 1 อย่างเป็นตัวเร่งเชื้อ เช่น น้ำปลา  เติมไป 1 ช้อนโต๊ะ ตีให้เข้ากัน นำไข่ที่ตีแล้วตักใส่ขวดน้ำ ตามสูตร ไข่ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1.5-2 ลิตร (หรือน้ำ 1 ขวดลิตร ต่อไข่ 1 ช้อนโต๊ะ) กะดูว่าถ้าใส่ไข่ลงไปแล้วควรให้เหลือช่องอากาศซัก 2 นิ้ว ปิดฝา เขย่าให้เข้ากัน
  • นำขวดที่ผสมแล้ว  จะมีสีขาวขุ่น ตั้งไว้ในบริเวณกลางแจ้งที่มีแดดส่องถึงตลอดวัน ประมาณ 2-3 อาทิตย์ก็จะเห็นผล ถ้าเริ่มมีสีแดงๆ ก็เป็นอันว่าใช้ได้ คับ

สำหรับการขยายหัวเชื้อ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

ขั้นตอนแรก เตรียมอาหารให้หัวเชื้อ เป็นขั้นตอนไม่ยาก ให้นำโปรตีนที่เป็นอาหารของเชื้อ เหมือนกับการทำวิธีแรก แต่ใช้เวลาหมักน้อยกว่า คือ นำไข่สด 2-3 ฟอง ตอกใส่ถ้วย แล้วตีให้เข้ากันทั้งไข่แดงไข่ขาว แล้วผสมน้ำ ในอัตราส่วน ไข่ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร เหมือนเดิม สามารถเจือจางได้สูงสุดในอัตราส่วน ไข่ 1 ช้อนต่อน้ำ 2 ลิตร เทใส่ขวดใสแสงลอดผ่านได้ ไม่ต้องใส่เต็มขวด ให้เว้นช่องอากาศเอาไว้ประมาณ 3 นิ้ว เผื่อส่วนให้เติมหัวเชื้อลงไปขยายเชื้อเดิมได้ด้วย

ขั้นตอนที่ 2 เตรียมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ที่ได้จากขั้นตอนหมักในตอนแรก หรือหากหัวเชื้อมีน้อย ก็ใช้สูตรผสม การผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง โดยอัตราส่วน หัวเชื้อ 1 ส่วนต่อน้ำ 3 ส่วน คือใช้วัสดุตวงที่เท่ากัน เช่น หัวเชื้อ 1 ช้อน ต่อน้ำ 3 ช้อน คนหัวเชื้อที่ผสมแล้วให้เข้ากัน จะได้หัวเชื้อพร้อมขยาย

นำหัวเชื้อที่ผสมน้ำแล้วตามอัตราส่วน มาเทใส่ลงในขวดอาหารที่ได้เตรียมไว้ ปิดฝาให้สนิทและเขย่าให้เข้ากัน ดูปริมาณให้มีช่องอากาศไว้เล็กน้อย แล้วนำไปตากแดดทิ้งไว้ 2 อาทิตย์ หรือตากไปจนกว่าหัวเชื้อในขวดจะกลายเป็นน้ำสีแดงเข้มข้น ก็สามารถนำไปใช้ต่อได้ จะตากไปเรื่อยๆ ก็ตามสะดวก แต่ระวังจะขึ้นราจนเน่าได้

ที่มา :  kasetorganic.com

Download เอกสารอ้างอิง ที่ http://www.pgs-organic.org/userfiles/file/vijai2.pdf




บทความอื่นที่น่าสนใจ