บทความเกษตร » การเลี้ยงแพะมือใหม่ ไม่ยากอย่างที่คิด พร้อมวิธีการดูละรักษาโรค

การเลี้ยงแพะมือใหม่ ไม่ยากอย่างที่คิด พร้อมวิธีการดูละรักษาโรค

27 กรกฎาคม 2022
1950   0

การเลี้ยงแพะมือใหม่ ไม่ยากอย่างที่คิด พร้อมวิธีการดูละรักษาโรค

การเลี้ยงแพะมือใหม่

การเลี้ยงแพะมือใหม่


สัตว์เลี้ยงสำหรับชาวเกษตรกรอย่าง “แพะ” ปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจอย่างมาก สาเหตุหลักมาจากมีสายพันธุ์ให้เลือกเลี้ยงได้หลากหลาย อย่างไรก็ตามสัตว์ชนิดนี้ยังถือเป็นของใหม่สำหรับคนไทยจำนวนมาก หากคุณคือมือใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้นเลี้ยงแต่ไม่แน่ใจว่าแพะมีกี่ประเภท วิธีเลี้ยงยุ่งยากไหม ต้องให้อาหารอะไรบ้าง? จะขอนำเอารายละเอียดที่เป็นประโยชน์มานำเสนอในบทความนี้

การเลี้ยงแพะนั้นจะมีระยะเวลาสั้นกว่าการเลี้ยงวัว โดยแพะเป็นสัตว์ที่หากินเองเก่งมาก ทนต่อทุกสภาพอากาศได้ดี ไม่ว่าจะร้อน ฝน หรือหนาวก็อยู่ได้หมด ผลผลิตแทบจะใช้ได้ทั้งตัวอย่าง นม เนื้อ หนัง หรือขน การเลี้ยงง่ายมากเนื่องจากเป็นสัตว์ตัวเล็ก ดูแลจัดการง่าย ใช้พื้นที่ไม่เยอะ 

สายพันธุ์แพะ

1. พันธุ์บอร์ (Boer) เป็นแพะพันธุ์เนื้อ มีลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง ใบหูยาวปรก

การเลี้ยงแพะมือใหม่

  • น้ำหนักแรกเกิด 4 กก.
  • โตเต็มที่ เพศผู้หนัก 65-90 กก.
  • เพศเมียหนัก 55-70 กก.
  • ผลผลิตนมเฉลี่ย 1.3-1.8 ลิตร/วัน
  • ระยะการให้นมประมาณ 120 วัน

2. พันธุ์แบลคเบงกอล(Black bengal) รัฐบาลประเทศบังคลาเทศได้น้อมเกล้า ฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ  สยามบรมราชกุมารีเป็นแพะเนื้อ มีขนสั้นสีดำหรือน้ำตาลเข้ม ใบหูเล็กชี้ตั้ง มักจะตกลูกแฝด สามารถผสมพันธุ์ได้ทั้งปีส่วนเนื้อ มีคุณภาพและรสชาติดีหนังมีคุณภาพและราคาแพง

พันธุ์แบลคเบงกอล(Black bengal)

  • น้ำหนักแรกเกิด 0.8-0.9 กก.
  • โตเต็มที่ เพศผู้หนัก 25-30 กก. เพศเมียหนัก 20-25 กก
  • ผลผลิตนม 0.21-0.29 ลิตร/วัน
  • ระยะการให้นมประมาณ 105 วัน

3. พันธุ์พื้นเมือง (Native) ตัวมีขนาดเล็กมีสีหลากหลาย ใบหูเล็กตั้งสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปีตกลูกปีละ2ครอกใช้พื้นที่ เลี้ยงต่อตัวน้อย มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม กินอาหารพวกพืช ได้หลายชนิด

พันธุ์พื้นเมือง (Native)

  • น้ำหนักแรกเกิด 1-1.5 กก.
  • โตเต็มที่ เพศผู้หนัก 25 กก. เพศเมียหนัก 20 กก.
  • ผลผลิตนมเฉลี่ย 0.2-0.3 ลิตร/วัน
  • ระยะการให้นมประมาณ 120 วัน

4. พันธุ์ซาเนน (Saanen) มีขนสั้น สีขาวครีมหรือน้ำตาลอ่อน ใบหูเล็กชี้ตั้งไปข้างหน้า ไม่มีเขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย

พันธุ์ซาเนน (Saanen)

  • น้ำหนักแรกเกิด 3.3 กก.
  • โตเต็มที่ เพศผู้หนัก 70-80 กก. เพศเมียหนัก 50-55 กก.
  • ผลผลิตนมเฉลี่ย 2.2 ลิตร/วัน
  • ระยะการให้นมประมาณ 240-300 วัน

5. พันธุ์แองโกลนูเบียน (Anglo nubian) เป็นแพะกึ่งเนื้อกึ่งนม มีสีเดียวในตัว หรือมีสีด่างปน สันจมูกมีลักษณะเป็นเส้นโค้ง ใบหูยาวปรกลง

  • น้ำหนักแรกเกิด 2.5 กก.
  • โตเต็มที่ เพศผู้หนัก 60-70 กก. เพศเมียหนัก 50-60 กก.
  • ผลผลิตนมเฉลี่ย 1.5 ลิตร/วัน
  • ระยะการให้นมประมาณ 165-200 วัน

6. พันธุ์หลาวซาน (Laoshan) รัฐบาลจีนได้น้อมเกล้า ฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถจำนวน 2 คู่ เป็นแพะนม มีขนสีขาวยาวเล็กน้อย แต่จะยาวมากบริเวณแก้ม หูสั้นชี้ตั้ง

  • น้ำหนักแรกเกิด 1-1.5 กก.
  • โตเต็มที่ เพศผู้หนัก 80 กก. เพศเมียหนัก 60 กก.
  • ผลผลิตนมเฉลี่ย 2.2 ลิตร/วัน
  • ระยะการให้นมประมาณ 200 วัน

7. พันธุ์จัมนาปารี (Jamunapari) เป็นพันธุ์แพะเนื้อและนม ลักษณะจมูกโค้งงุ้ม มีขนสั้น ใบหูยาวปรกลง มีเขาทั้งเพศผู้และเมีย เป็นแพะ  ที่กินอาหารเก่ง โตเร็วเหมาะสําหรับเลี้ยงปลอยแทะเล็มและ ใช้ปรับปรุงแพะพื้นเมืองให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

  • น้ำหนักแรกเกิด 3.5-4 กก.
  • โตเต็มที่ เพศผู้หนัก 68-91 กก. เพศเมียหนัก 46-63 กก.
  • ผลผลิตนมเฉลี่ย 1 ลิตร/วัน
  • ระยะการให้นมประมาณ 210-240 วัน

8. พันธุ์ชามีหรือดามัสกัส (Shami/Damuscus) ให้นมสูงมีขนยาวสีน้ำตาลแดงตลอดทั้งตัว บางครั้งพบจุดสีขาวบริเวณหน้า แนวสันหลังและขาหน้า ใบหูยาวและห้อยปรกลงมา มีเขาทั้งเพศผู้ และเพศเมีย เป็นแพะที่ปรับตัวง่ายในภูมิอากาศที่แตกต่างกันมาก จึงสามารถพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพการผลิตของประเทศไทย

พันธุ์ชามีหรือดามัสกัส (Shami/Damuscus)

  • น้ำหนักแรกเกิด 3.5 – 5.5 กก.
  • โตเต็มที่ เพศผู้หนัก 75 กก. เพศเมียหนัก 65 กก.
  • ผลผลิตนมเฉลี่ย 3-4 ลิตร/วัน
  • ระยะการให้นมประมาณ 305 วัน

การเลี้ยงดูแพะ

ารเลี้ยงแพะ โดยทั่วไปสามารถแบ่งรูปแบบการเลี้ยงได้ 4 แบบ ดังนี้

  • การเลี้ยงแบบปล่อย ให้แพะหากินเองตามธรรมชาติและผสมพันธุ์เอง มักเลี้ยงบริเวณที่มีหญ้า กลางวันจะต้อนให้อยู่ที่มีร่มเงา มักไม่มีการสร้างคอกหรือโรงเรือน แต่จะปล่อยให้อาศัยตามร่มไม้
  • การเลี้ยงแบบผูกล่าม เป็นการผูกล่ามแพะไว้กับที่ อาจเป็นหลักไม้ปักหรือเป็นตอไม้หรือต้นไม้ที่บริเวณโดยรอบมีหญ้าให้แพะกินเพียงพอ วันหนึ่งอาจมีการย้าย 2-3 จุด เพื่อให้ได้กินหญ้าได้มาก ส่วนตอนเย็นจะย้ายมาขังคอก
  • การเลี้ยงแบบกึ่งขังคอก ลักษณะคล้ายการเลี้ยงแบบปล่อย แต่จะสร้างคอกหรือโรงเรือนสำหรับกักขังตอนกลางคืน โรงเรือนมีแต่หลังคาเท่านั้น ตอนเช้าต้อนให้แพะออกหากินตามทุ่งหรือที่มีหญ้า
  • การเลี้ยงแบบขังคอกเป็นการเลี้ยงในคอกหรือโรงเรือนตลอดเวลาโดยให้น้ำ และอาหารในคอก แต่อาจมีการปล่อยแพะออกไปหากินข้างนอกบ้าง พื้นคอกมักยกสูง และลาดเอียงหรืออาจเป็นพื้นดินธรรมดา แต่มักรองพื้นด้วยแกลบ

เกษตรกรสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตนเองโดยพิจารณาจากวัตถุดิบประสบการณ์จำนวนแพะ จำนวนทุน และสภาพแวดล้อมที่เลี้ยง

” การเลี้ยงแพะมือใหม่ “

โรงเรือนและการเลี้ยง

โรงเรือนควรตั้งในพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วม กันแดดกันฝน มีแสงสว่างอากาศถ่ายเท สะอาด และมีรั้วล้อมรอบ ควรยกพื้นสูงจากพื้นดิน 1.50-1.60 เมตร ปูพื้นด้วยไม้ระแนงขนาด1×23 นิ้วร่องห่างของไม้ 1 นิ้วเพื่อให้มูลแพะลอดผ่านได้สะดวก ภายในโรงเรือนประกอบด้วยรางหญ้า รางอาหารข้น และภาชนะใส่น้ำ รวมทั้งแขวนก้อนเกลือแร่ให้แพะแทะเลียกิน อย่างทั่วถึงและเพียงพอ ดังนี้

  • โรงเรือนพ่อพันธุ์แพะขนาด3×5เมตรเลี้ยงแพะพ่อพันธุ์1-2ตัว
  • โรงเรือนแพะรวม ขนาด6×12เมตรแบ่งซอยเป็นคอกย่อยตามกลุ่มขนาดของแพะ ประกอบด้วย แพะตั้งท้องก่อนคลอด แพะเลี้ยงลูกอ่อน คอกคลอด และคอกอนุบาลลูกแพะ คอกแพะรุ่น
  • โรงเรือนแพะรีดนม ขนาด 4 x 12 เมตร เป็นคอกแพะรวมมีรางหญ้า รางอาหารข้น ภาชนะให้น้ำ ก้อนเกลือแร่อย่างเพียงพอภายในโรงเรือนแพะรีดนม แบ่งเป็นคอกสำหรับรีดนมพื้นที่ 3×3 ตารางเมตร ประกอบด้วยแท่นรีดน้ำนม และที่เก็บอุปกรณ์ใช้ในการรีดนม

อาหารและการให้อาหาร

แรกเกิด – 3 วัน 

  • นมน้ำเหลืองเต็มที่วันละ 3 – 5 ครั้ง

อายุ 4 วัน – 2 สัปดาห์

  • นมแพะ  0.5 – 1 ลิตรต่อตัว แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง
  • ไวตามิน + แร่ธาตุ

อายุ 2 – 6 สัปดาห์

  • นมสดหรือนมเทียม 0.5 – 1 ลิตรต่อตัว แบ่งให้วันละ 2ครั้ง
  • อาหารข้นที่มีโปรตีนรวมร้อยละ 22 เริ่มให้วันละน้อยก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้น
  • หญ้าแห้งผสมถั่วหรือหญ้าสด ให้กินเต็มที่
  • ไวตามิน + แร่ธาตุ

อายุ 4 เดือน – ให้ลูก

  • อาหารหยาบ เช่น หญ้าสด ให้กินเต็มที่
  • ไวตามิน + แร่ธาตุผสม
  • อาหารข้นที่มีโปรตีนรวมร้อยละ 18-20

แม่พันธุ์อุ้มท้อง แม่พันธุ์ที่หยุดรีดนม และพ่อพันธุ์

  • อาหารหยาบ ให้กินเต็มที่
  • ไวตามิน + แร่ธาตุผสม
  • อาหารข้นที่มีโปรตีนรวมร้อยละ 16-18

แม่พันธุ์ระยะให้นม

  •  อาหารหยาบ ให้กินเต็มที่
  • ไวตามิน + แร่ธาตุผสมน้ำ
  • อาหารข้นที่มีโปรตีนรวมร้อยละ 16-18 ขึ้นกับปริมาณน้ำนมที่รีดได้โดยให้อาหาร 0.3-0.5 กก./น้ำ นมที่รีดได้ 1 ลิตร

น้ำ ใส่ภาชนะจัดให้สามารถดื่มกินได้ตลอดเวลา

หมายเหตุ นมสดอาจเป็นนมแพะหรือนมโค และภายหลังจาก 2 สัปดาห์ แล้วอาจใช้นมเทียม หรือนมผงผสมน้ำ แทนนมสดได้

ตัวอย่างสูตรอาหาร

1. โปรตีนรวมร้อยละ 18–20

  • ข้าวโพด 12 กก.
  • รำละเอียด 24 กก.
  • กากมะพร้าว 40 กก.
  • กากถั่วเหลือง 8 กก.
  • เนื้อและกระดูกป่น 10 กก.
  • กากน้ำตาล 5 กก.
  • เกลือป่น 1 กก.

2. โปรตีนรวมร้อยละ 16–18

  • กากมะพร้าว 40 กก.
  • ข้าวโพด 25 กก.
  • กากถั่วเหลือง 15 กก.
  • รำละเอียด 10 กก.
  • กากน้ำตาล 8 กก.
  • กระดูกป่น 1 กก.
  • เกลือป่น 1 กก

การป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นกับแพะ

โรคพยาธิ

ควรถ่ายพยาธิทุก 3 เดือน โดยใช้ยาถ่ายพยาธิที่จำหน่ายทั่วไปทั้งแบบกรอก (กำจัดพยาธิภายนอก) และแบบฉีด (กำจัดพยาธิภายใน)

โรคแท้งติดต่อ

ในแพะมักเกิดจากเชื้อ Brucella melitensis คนก็สามารถติดโรคนี้ได้จากการบริโภคน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม เช่น ครีม เนย ที่ได้จากแพะที่เป็นโรคและไม่ได้ผ่านขบวนการฆ่าเชื้อโรคก่อน

  • อาการ แพะเกิดการแท้งลูกหรือคลอดลูกที่ไม่ค่อยจะแข็งแรงออกมาและมักจะมีน้ำเมือกไหลมาจากช่องคลอดนานเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เดินกะโผลกกะเผลก เต้านมอักเสบ น้ำหนักลด ขนแห้งและเป็นหมัน
  • การติดต่อ โดยการสืบพันธุ์การเลียอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวอื่น การกินอาหารและน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนอยู่ เชื้อนี้จะมีในน้ำเมือกสัตว์ปัสสาวะ และซากลูกสัตว์ที่แท้งออกมา

***ควรกำจัดทำลายหากตรวจพบตัวที่เป็นโรคในฟาร์ม

โรคมงคล่อเทียม หรือโรคเมลิออยโดซีส

ส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ในประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนหรือเขตร้อนชื้น สามารถติดคนและสัตว์ได้
อาการ ปวดหัวเบื่ออาหาร ปวดตามตัวและมีอาการทางระบบหายใจ รวมทั้งมีไข้ไอ บางครั้งมีเลือดปน เจ็บหน้าอก มีแผลหลุมในช่องจมูกมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด และ อาจตายได้หากไม่ได้รับการรักษา

การติดต่อ จากการสัมผัสเชื้อโดยตรง การหายใจ หรือการกินอาหารหรือน้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อ และสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสเลือดหรือของเหลวจากร่างกาย (ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำมูก น้ำนม) ของคนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ

***ควรกำจัดทำลายหากตรวจพบตัวที่เป็นโรคในฟาร์ม

ที่มา: กองงานพระราชดำ ริและกิจกรรมพิเศษ กรมปศุสัตว์ โทร. 0 2653 4444 ต่อ 3371 โทรสาร 0 2653 4930
E-mail : drasa2@dld.go.th www.royal.dld.go.th ,www.withikaset.com

เรียบเรียง : kasetbanna.com