แหนแดง สุดยอดอาหารลดต้นทุน ทำแบบนี้เงินเหลือแน่นอน
ที่มา Youtube Channel : ทุ่งกุลา channel
คลิป : แหนแดง สุดยอดอาหารลดต้นทุน ทำแบบนี้เงินเหลือแน่นอน
แหนแดง เปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการตรึงไนโตรเจนจากอากาศของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (cyanobadteria) ที่อาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง
แหนแดง เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กพบอยู่ตามบริเวณน้ำนิ่ง เช่น บ่อ หรือคูน้ำ แหนแดงจัธุ์ของกรมวิชาการเกษตรที่แนะนำให้แก่เกษตรนั้น ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง ถึง 10 เท่า เมื่อแหนแดงเจริญเติบโตเต็มที่บนผิวน้ำในนาข้าว 1 ไร่ จะให้ผลผลิตสดถึง 3 ตัน (150 กิโลกรัมแห่ง) ซึ่งเป็นปริมาณไนโตรเจน ได้ ประมาณ 60 7.5 กิโลกรัม
วิธีการขยายพันธุ์แหนแดง
แหนแดง สามารถขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้อย่างรวดเร็ว โดยแยกส่วนของลำต้นเป็นชิ้นเล็กๆ หรือ เมื่อแหนแดงเจริญเติบโตเต็มที่ กิ่งแขนงที่แก่จัดของมันจะมีสีเขียวเข้ม แล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จากนั้นก็จะขาดออกมาเป็นต้นใหม่ การขยายพันธุ์ของแหนแดง โดยทั้ง 2 วิธี สามารถเพิ่มปริมาณของแหนแดงเป็นสองเท่าภายใน 35 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมการเพิ่มปริมาณแหนแดงสามารถทำได้โดยขังน้ำในนาให้ลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร ใส่แม่พันธุ์แหนแดงประมาณ 100 กรัม/ตารางเมตร เมื่อแหนแดงเติบโตเต็มที่จะได้น้ำหนักสด 2 กิโลกรัม/ตารางเมตร จากนั้นจึงนำลงในพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณตามต้องการ
การเพาะเลี้ยงแหนแดง
การเพาะเลี้ยงแหนแดงควรมีบ่อเลี้ยงแม่พันธุ์ไว้ต่างหาก เนื่องจากแหนแดงมีในโตรเจนสูง เนื้อเยื่อของแหนแดง ค่อนข้างอ่อน สัตว์และแมลงหลายชนิดจะเข้าทำลายได้ง่าย เพราะฉะนั้นจะต้องมีบ่อเพาะเลี้ยงแม่พันธุ์ไว้ หากนำแหนแดงลงไปใช้ในแปลง หรือถูกแมลงทำลายเสียหายหมดก็ยังมีแม่พันธุ์แหนแดงที่เลี้ยงไว้ในบ่อใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาไปหาแม่พันธุ์ใหม่
วิธีเพาะเลี้ยงแม่พันธุ์แหนแดง มีดังนี้
-
การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์
- เตรียมบ่อปูนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80เซนติเมตร ปิดฝาที่กันบ่อ เจาะรูกลมขนาด 14 นิ้ว สูงจากก้นบ่อ 10 เชนติเมตร เพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำ แล้วใส่ท่อพลาสติกที่มีฝาปิดเปิดเพื่อควบคุมระดับน้ำ
- ใส่ดินผสมปุ้ยคอกให้มีระดับความลึกของดินเท่ากับระดับด้านล่างของรูที่เจาะไว้ควบคุมระดับน้ำ แล้วเติมน้ำให้สูงจากระดับผิวดินประมาณ 10 เซนติเมตร
- ใส่แหนแดง 50 กรัม ลงในบ่อที่เตรียมไว้เพื่อเป็นแม่พันธุ์ แล้วเขี่ยแหนแดงกระจายให้เสมอทั่วบ่อ
- เมื่อแหนแดงเจริญเติบโตเต็มบ่อจนแน่น (รอประมาณ1 – 2 สัปดาห์ ให้ปล่อยน้ำออกจากบ่อจนมีระดับเท่าผิวดินที่ใส่ หรือนำแหนแดงไปขยายต่อในที่ที่ต้องการ
- นำแหนแดงที่ได้จากบ่อแม่พันธุ์ลงปล่อยในบ่อขนาดใหญ่ หรือกระชัง เพื่อเพิ่มปริมาณต่อไป การเลี้ยงในบ่อปูนควรนำมุ้งตาข่ายเขียวมาปิดปากบ่อเพื่อป้องกันแมลงเข้าทำลาย และเป็นการช่วยพรางแสงให้แหนแดงไปพร้อมกัน วิธีนี้จะช่วยให้แหนแดงมีการเจริญเติบโตที่ดียิ่งขึ้น
-
การเพาะเลี้ยงแหนแดงแบบบ่อขุด
เนื่องจากแหนแดงไม่ต้องการน้ำลึก จึงควรขุดบ่อให้มีลักษณะเหมือนท้องนาขังน้ำให้ลึกประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร เรียกว่าเป็นบ่อน้ำตื้นควรมีการพรางแสง หรือมีร่มไม้ร่ำไร ถ้ามีพื้นที่บ่อขนาดประมาณ 5 ตารางเมตร ปล่อยแหนแดงลงไปประมาณ 10 กิโลกรัม ใช้เวลา 10 – 15 วัน แม่พันธุ์แหนแดงจะเจริญเติบโตเต็มบ่อ สามารถตักแหนแดงไปปล่อยลงบ่ออื่น หรือนำไปขยายต่อในพื้นที่ที่ต้องการได้ต่อไป ซึ่งควรจะปล่อยแหนแดงลงบ่อก่อนฤดูฝน หากปล่อยในหน้าแล้ง ความชื้นในอากาศน้อย อาจจะใช้เวลานานถึง 3 สัปดาห์ แหนแดงจึงจะเต็มบ่อ ดังนั้น จึงสามารถดัดแปลงปริมาณการใส่แหนแดงเริ่มต้นได้ตามความเหมาะสม แหนแดงที่ขยายเติบโตเต็มที่จะได้น้ำหนักแหนแดงสดประมาณ 1.5 – 20 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
ประโยชน์จากแหนแดง
- สามารถทดแทน หรือลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลงได้
- เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ปรับปรุงโครงสร้างดินดีขึ้นในระยะยาว
- ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับพืชผักและไม้ผล เพิ่มทางเลือกสำหรับการผลิตพืชอินทรีย์
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ลดการดูดตรึงฟอสเฟตของดิน
- ใช้เป็นแหล่งโปรตีนสำหรับเลี้ยงสัตว์ เช่น สัตว์เคี้ยวเอื้องจำพวกวัว ควาย แพะ รวมทั้งหมู เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น
- มีต้นทุนการผลิตต่ำ แหนแดงเติบโตและขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว แม้เลี้ยงในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
- ลดปริมาณวัชพืชในนาข้าว แหนแดงที่ขยายคลุมผิวน้ำจะทำให้แสงแดดส่องไม่ผ่าน จึงช่วยลดการเจริญเติบโตของวัชพืชจำพวกสาหร่ายลงได้
ขอบคุณข้อมูล / ภาพ : รัตน์ติยา พวงแก้ว และ เทิตพงศ์ สุทธิอาภาพงศ์ ศูนยวิจัยพัฒนาการเกษตรฉะเชิงเทรา กรมวิชาการเกษตร
บทความอื่นที่น่าสนใจ