บทความเกษตร » วิธีเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ สำหรับมือใหม่ ไร้กลิ่นไม่เหม็น ต้นทุนต่ำ

วิธีเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ สำหรับมือใหม่ ไร้กลิ่นไม่เหม็น ต้นทุนต่ำ

28 มีนาคม 2024
731   0

วิธีเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ สำหรับมือใหม่ ไร้กลิ่นไม่เหม็น ต้นทุนต่ำ

วิธีเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ


วิธีเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ นั้นมีเป็นภูมิปัญญาสมัยเก่าบวกสมัยใหม่ เพื่อปรับตัวในการเลี้ยงหมู ที่มีต้นทุนค่าอาหารที่สูงขึ้นทุกวัน ทำให้เกษตรกรผู้ที่ทำอาชีพเลี้ยงหมูนั้นต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่ง วิธีเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ นั้นยังช่วยลดกลิ่นเหม็นของขี้หมูได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังได้ปุ๋ยหมักแบบไม่ต้องออกแรงไว้ใส่ไร่สวนได้ด้วย



“หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกการเลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม ดั้งเดิมมาโดยมีแนวคิดตามหลักการของ เกษตรกรรมธรรมชาติ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีปรัชญาแนวคิดอยู่เบื้องหลังของการทำงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืชสัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด และน้ำ นำมาเป็นปัจจัยในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน

ข้อดีของการเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ (หมูหลุม)

สำหรับข้อดีของการเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาตินั้น ก็จะมีข้อดีอยู่ด้วยกันหลายข้อเหมือนกัน ซึ่งพอจะสรุป คร่าวๆได้ดังนี้ครับ

  • การเลี้ยงหมูนั้นเราสามารถใช้วัสดุต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติและในท้องถิ่น มาประกอบในการทำคอกเลี้ยงได้ ซึ่งจะประหยัดต้นทุนได้เยอะมากเหมื่อเทียบกัยการเลี้ยงหมูปรกติ
  • เรื่องของกลิ่นเหม็นนั้นไม่ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากมูลสุกรและน้ำเสีย ถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์หรือน้ำหมักที่เราเติมเข้าไปในคอกอีทั้งยังมีวัสดุต่างๆ ที่ใช้รอบพื้นด้วยจึ้งหมดปัญหาเรื่องกลิ่น
  • ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการล้างทำความสะอาดคอกและบำบัดน้ำเสีย เพราะมีระบบการหมุนเวียนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในคอกหรือหลุมสุกร
  • มูลสุกรและวัสดุในหลุมซึ่งถูกหมักและย่อยสลายโดยจุลินทรีย์กลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างดีนำไปเป็นปุ๋ยให้กับพืช ปรับปรุงดินบำรุงดิน หรือจำหน่ายได้
  • ต้นทุนการผลิตต่ำโดยเฉพาะต้นทุนด้านอาหารสามารถลดได้ไม่ต่ำกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์

การสร้างโรงเรือน

สำหรับการสร้างคอกหรือโรงเรือนในการเลี้ยงหมูหลุมนั้น ไม่มีสูตรตายตัวขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของแต่ล่ะพื้นที่ว่ามีวัสดุอุกปกรณืของแต่ล่ะพื้นที่เป็นอย่างไร แต่ก็มีหลังการคร่าวๆในการเลือกพื้นที่ในการสร้างโรงเรือน นั้นควรเป็นที่สูง น้ำท่วมไม่ถึงสร้างโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก และทิศตะวันตก วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ควรเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น โกรงหลังาทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยหญ้าคา หรือหญ้าแฝก ใบจาก เป็นต้น

การสร้างคอกหมูหลุม

  • หมูหลุม 1 ตัว ใช้พื้นที่ประมาณ 1.5 – 2 ดารางเมตร ซึ่งคอกขนาด 2.5 x 3 เมตร จะสามารถเลี้ยงหมูได้ 4-5 ตัว คอกขนาด 4 x 4 เมตร เลี้ยงหมูได้ 8-10 ตั
  • ถ้าต้องการเลี้ยงหมูหลุม 4 – 6 ตัว ต้องใช้พื้นที่ 2.5 x 4 เมตร
  • ขุดดินออกในส่วนพื้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 เซนดิเมตร ปรับพื้นที่ให้มีระดับสม่ำเสมอ ใช้อิฐบล็อกกั้นค้านข้างคอกเหนือขอบหลุมสูง 2 เมตร

วิธีเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ

วัสดุพื้นคอก

พื้นคอกนั้นเราสามารถใช้แกลบ 10 ส่วนผสมดินละเอียด 1 ส่วน เทลงกันหลุมมีความหนา 30 ซม.  แล้วใช้เกลือเม็ดประมาณ 1 ถ้วยตราไก่ โรยหน้าแล้วใช้น้ำหมักชีวภาพ 2 ช้อนแกงผสมน้ำ 10 ลิตร แล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน จึงนำหมูเข้าอยู่และควรราดน้ำหมักชีวภาพลงบนพื้นคอกเพิ่มเติมทุกๆ 5-7 วัน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ กรณีไม่มีแกลบก็สามารถใช้อย่างอื่นแทนได้ตามความเหมาะสม เช่น ฟางข้าว หรือ ขี้เลื่อย มารองใส่ชั้นล่างสุดแทนแกลบก็ได้

การให้อาหาร

สำหรับการให้อาหารนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง ดังนี้

  • ลูกหมูที่นำมาเลี้ยงควรมีน้ำหนัก 15 – 20 กก. ในช่วงเดือนแรก ควรให้อาหารสำหรับหมูเล็ก โดยผสมรำอ่อน ปลายข้าว กากถั่วเหลือง ปลาน หรือใช้น้ำหอยเชอรี่หมักแทนปลาปน
  • หมูได้ 30 กก.ขึ้นไป อาหารหมูได้แก่ เสษอาหารเหลือทิ้งจากมนุษย์เศษพืชต่างๆ หญ้าสด หญ้าหมัก จะใช้อาหารสำเร็จรูปผสมร่วมกับอาหารที่ทำขึ้นเองบางส่วนเท่านั้น ส่วนพืชสด ใส่ให้กินในคอกเลย

ตัวอย่างสูตรอาหาร

สูตร 1

  • หยวกกล้วย + มะละกอดิบ + ผักบุ้ง + เถามันเทศ + เศษผักหรือวัชพืช สับให้ละเอียด  100 กก.
  • น้ำตาลทรายแดง 4  กิโลกรัม
  • เกลือ 1  กิโลกรัม
  • หมักทิ้งไว้ 5 ถึง 7 วัน
  • ผสมหัวอาหาร  3  กิโลกรัม
  • สามารถเติมน้ำหมักแบคทีเรียแลคติก

สูตร 2

  • หยวกกล้วย เศษผัก ฯลฯ สับให้เป็นชิ้นเล็กๆ  25  กิโลกรัม
  • น้ำใส่ถังแล้วโรยด้วยเกลือแกง  200  กรัม
  • ผสมน้ำหมักชีวภาพ,หัวเชื้อจุลินทรีย์/EM 2 ฝา
  • น้ำตาลทรายแดงกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม (เทผสมแล้วปีดฝาทิ้งไว้ 5 – 7 วัน สามารถเก็บได้นาน 30 วัน)

อย่างไรก็ตาม เราควรเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคที่มีความเสี่ยง เช่น อหิวาตัสุกร โดยการทำวัคซีนก่อนนำหมูเข้าเลี้ยง ถ่ายพยาธิโดยใช้ยาถ่ายพยาธิที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป หากเกิดเจ็บป๋วยก็ทำการรักษา เราสามารถนำสมุนไพรมาใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันได้ แต่ต้องทำใจไว้ก่อนว่าผลการรักษาคงไม่เห็นทันตาเท่ากับยาแผนปัจจุบัน


บทความอื่นที่น่าสนใจ