อะโวคาโด ไม้ผลพืชเศรษฐกิจสร้างความยั่งยืนบนพื้นที่สูง
อะโวคาโด
อะโวคาโด เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเป็นพืชที่มีความสำคัญมากในด้านอาหารสุขภาพ เนื่องจากปัจจุบัน ผู้บริโภคในประเทศไทยได้หันมาสนใจด้านอาหารสุขภาพเป็นอย่างมากและที่สำคัญในด้านการผลิตอะโวคาโดเป็นไม้ยืนต้นที่มีใบเขียวตลอดทั้งปี สามารถเป็นป่าทดแทนได้ดี
ปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไทยภูเขาปลูกเป็นอาชีพ จนกระทั่งเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงในระยะยาว ทดแทนพืชเชิงเดี่ยว และลดการเผาในพื้นที่ทำการเกษตรบนพื้นที่สูง ซึ่งได้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง โดยการศึกษาคัดเลือกพันธุ์ที่ เหมาะสมสำหรับปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย การพัฒนาเทคนิคการขยายพันธุ์การปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ตลอดจนประชาสัมพันธ์และส่งเสริมด้านการตลาดให้อะโวคาโดเป็นที่รู้จัก และนิยมบริโภคของคนไทย
ลักษณะประจำพันธุ์ / ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ตัน : มีความสูงประมาณ 20 เมตร เปลือกของต้นสีน้ำตาลอ่อน ผิวขรุขระ
- ใบ : ใหญ่ยาวรี จับดูสากมือ ใบมีเส้นลายลึกชัดเจนสีเขียวสด
- ดอก : สีเขียวอมเหลือง มีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อๆ ที่ปลายกิ่ง
- ผล : มีทั้งผลกลม ผลกลมรี เปลือกผลมีทั้งหนาและบาง เนื้อสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม รสซาติมัน เนื้อละเอียดไม่มีกลิ่น
ลักษณะพันธุ์อะโวคาโคที่ดี
ลักษณะที่ตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน มีลักษณะดังนี้
- มีคุณภาพเนื้อดี มีเปอร์เซ็นตีไขมันสูง เนื้อนิ่มแต่แน่น ไม่เละ ไม่มีเสี้ยนหรือไม่เป็นสีน้ำตาลง่ายเมื่อผ่า ไม่มีรสชื่นและกลิ่นฉุน
- เป็นพันธุ์ที่มีช่วงระยะเวลาการเก็บเกี่ยว เมื่อผลแก่แล้วสามารถยืดอายุเก็บเกี่ยวได้โดยอยู่บนต้นได้นานไม่หล่นเสียหาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการกระจายปริมาณผลผลิตที่ออกจำหน่าย
- เป็นพันธุ์ที่เปลือกผลหนาพอสมควร ทำให้ทนต่อการขนส่งได้ดีผลมีขนาดไม่ใหญ่เกินไป
ประโยชน์ของอะไวคาโด
ผลรับประทานสดได้ มีสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงประกอบด้วยสารสำคัญหลายชนิด เช่น สาร Antioxidant, กรดอะมิโน 18 ชนิดมีเส้นใยอาหารสูงเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย มีวิตามินอีช่วยบำรุงผิววิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันรักษาโรคหัวใจที่เกิดจากไขมันในลิ่มเลือดอุดตัน ช่วยลดความอ้วน เพราะปริมาณคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลน้อยเมื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น
นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไอศกรีมน้ำอะโวคาโดพร้อมดื่ม สบู่ แชมพูสระผม ครีมนวดผม ครีมบำรุงผิว เป็นตัน
พันธุ์ที่แนะนำปลูกเป็นการค้า
1. พันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson) ลักษณะค่อนข้างกลม ผลมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง น้ำหนักผล 200-300 กรัม เนื้อผลสีเหลืองอมเขียว รสชาติดี เป็นพันธุ์เบา
2. พันธุ์รูเฮิล (Rueh le) ลักษณะผลค่อนข้างกลมทรงสูงเล็กน้อยผลมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง น้ำหนักผล 200-300 กรัม เนื้อผลสีเหลืองอมเขียว รสชาติดี เป็นพันธุ์เบา
3. พันธุ์บัคคาเนียร์ (Buccanear) มีทรงพุ่มแผ่กว้าง ลักษณะผลค่อนข้างกลมรี มีขนาดกลาง น้ำหนักผล 300-500 กรัม ผิวผลสีเขียว ผิวขรุขระ เปลือกหนา เนื้อสีเหลืองอ่อน รสชาติดี มีไขมัน 12 เปอร์เซ็นต์
4. พันธุ์เฟอร์ออเท่ (Fuerte) ลักษณะผลทรงยาว มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง น้ำหนักผล 200-350 กรัม ผิวผลสีเขียว ผิวขรุขระเล็กน้อย เนื้อสีเหลืองครีม
5. พันธุ์บูธ 7 (Booth-7) มีทรงพุ่มกว้าง ผลลักษณะค่อนข้างกลมมีขนาดกลาง น้ำหนักผล 300-500 กรัม ผิวผลสีเขียว ผิวขรุขระเล็กน้อยเปลือกหนา เนื้อสีเหลืองอ่อน รสชาติดี มีไขมัน 7-14 เปอร์เซ็นต์
6. พันธุ์บูธ 8 (Booth-8) ลักษณะผลรูปไข่ ขนาดเล็กถึงขนาดกลางน้ำหนักผล 270-400 กรัม ผิวผลสีเขียว ผิวขรุขระเล็กน้อย เปลือกหนาเนื้อสีครีมอ่อน รสชาติพอใช้ มีไขมัน 6-12 เปอร์เซ็นต์
7. พันธุ์ฮอลล์ (Hall) เป็นลูกผสมระหว่างเผ่ากัวเตทาลันและเวสต์อินเดียน ลักษณะผลคล้ายหลอดไฟ น้ำหนักผล 400-500 กรัม บางครั้งน้ำหนักมากถึง 600 กรัม ถ้าติดผลไม่ดก มีไขมัน 10-16 เปอร์เซ็นต์
8. พันธุ์แฮส (Hass) ลักษณะผลรูปไข่ ผิวผลสีเขียวเข้ม ผิวขรุขระมากเมื่อสุกเป็นสีม่วงเข้ม ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนัก 200-300 กรัม เนื้อผลสีเหลือง มีไขมันประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์นี้เป็นพันธุ์การค้าที่สำคัญของโลก เพราะคุณภาพผลดีมาก
การขยายพันธุ์และการผลิตต้นกล้าอะโวคาโด
อะโวคาโด สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ดการติดตา การต่อกิ่ง และการเสียบยอด เป็นต้น แต่การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ไม่นิยมใช้ปลูกเพื่อให้ผลผลิต เนื่องจากให้ผลช้าอย่างน้อย 6-7 ปี จึงให้ผลและจะกลายพันธุ์
สำหรับวิธีการขยายพันธุ์ที่นิยมใช้ในการปลูกอะโวคาโดเป็นการค้า คือ การเสียบยอดพันธุ์ดีบนต้นตอเพาะเมล็ด
การปลูกอะโวคาโด
ระยะปลูก
ระยะปลูกที่เหมาะสมของอะโวคาโด ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ใช้ปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดินเพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้ต้นอะโวคาโดเจริญเติบโตได้ต่างกัน โดยทั่วไปใช้ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถว 8-12 เมตร
การเตรียมแปลงปลูก
เตรียมหลุมปลูกมีความกว้างยาว 80 เซนติเมตร ลึก 80 เซนติเมตรผสมปุ๋ยคอกประมาณ 1-2 ปุ้งกี้ คลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมาแล้วใส่ลงไปในหลุม เตรียมไม้ปักผูกยึดต้นกันลมโยก เตรียมวัสดุคลุมผิวหน้าดินบริเวณหลุมปลูกไว้ซึ่งอาจใช้ฟางข้าว เศษหญ้าแห้ง แกลบ ขี้เลื่อย หรือเปลือกถั่วก็ได้
ฤดูปลูก
ปลูกได้ทุกฤดูถ้ามีน้ำพียงพอ ในประเทศไทยนิยมปลูกช่วงตันฤดูฝนแต่ถ้ามีฝนตกชุกมาก ต้องระวังไม่ให้น้ำขัง ปลูกในช่วงฤดูร้อนก็ต้องเตรียมป้องกันแสงแดดเผาส่วนของเปลือกลำต้น หรือกิ่งก้าน
การปลูก
นำต้นลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ให้รอยต่อกิ่ง หรือรอยแผลติดตาหรือรอยแผลเสียบยอด อยู่เหนือระดับผิวดิน กลบดินรอบๆโคนต้นให้แน่น และรดน้ำให้ชุ่มแล้วทำการคลุมดินด้วยวัสดุคลุมดินที่เตรียมไว้ปักไม้หลักผูกเชือกยึดติดแน่นป้องกันลมโยก รดน้ำให้สม่ำเสมอจนกว่าต้นจะตั้งตัวได้ ควรตรวจดูอยู่เสมอ ถ้าฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานก็ควรให้น้ำ สำหรับในช่วงฤดูร้อนของปีแรกหลังจากหมดฤดูฝนแล้ว ควรให้น้ำต้นอะโวคาโดทุกสัปดาห์ จนกว่าต้นอะโวคาโดจะมีอายุ 1 ปีหลังจากปลูก
การดูแลรักษาอะโวคาโด
การใส่ปุ๋ย
- ครั้งแรก หลังจากปลูก 1 เดือน ใส่ในโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อัตราส่วน 3:1:1 ทั้งนี้อาจใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมกับยูเรีย (46-0-0) อัตราส่วน 1:1 คลุกเคล้ากันให้ดีแล้วใส่ต้นละ 200 กรัม แบ่งใส่ประมาณ 3 ครั้งต่อปี
- ปีที่ 2 จะใส่ปุ๋ยผสมดังกล่าวข้างต้น ในอัตราต้นละ 300 กรัมแบ่งใส่ประมาณ 4 ครั้งต่อปี
- ปีที่ 3 จะเริ่มให้ผลผลิต ใส่ปุ๋ยเหมือนปีที่ 2 แต่ปริมาณปุ๋ยเพิ่มขึ้นเป็นต้นละ 400 กรัม ใส่ 2 ครั้งในช่วงต้นและกลางฤดูฝนพอถึงปลายฤดูฝนเดือนตุลาคม จะเปลี่ยนเป็นปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัส หรือโพแทสเชียมสูง เช่น 8-24-24 หรือ 9-24-24 ในดินร่วนปนทราย หรือดินทราย ส่วนดินร่วนเหนียวควรใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา500 กรัมต่อต้น และเมื่อติดผลแล้วจึงใส่ปุ๊ยอัตราส่วน 3:1:1 ใหม่ เพื่อให้ผลเจริญเติบโตดีและติดผลได้มาก โดยอาจใส่ปุ๋ยยูเรียผสมปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตราส่วน 1:1 เพิ่มขึ้นอีกต้นละ 500 กรัม
การให้น้ำ
ในระยะที่ปลูกอะโวคาโดใหม่ๆ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอให้ดินซุ่มแต่อย่าให้น้ำขัง เมื่อต้นมีขนาดโตขึ้นก็ต้องการปริมาณน้ำมากขึ้นหรืออาจเลือกวิธีการให้น้ำเป็นระบบน้ำหยด หรือมินิสปริงเกลอร์บริเวณโคนต้นก็ได้ ระยะที่จะออกดอกควรงดให้น้ำ
การจัดทรงต้นและตัดแต่งกิ่ง
อะโวคาโด ไม่มีระบบการจัดทรงต้นและตัดแต่งกิ่งที่แน่นอนต้นอะโวคาโดที่ปลูกใหม่ จนถึงระยะก่อนออกดอกและติดผลจะตัดแต่งกิ่งเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่ต้องตัดแต่งกิ่งเลย
การเก็บเกี่ยว
โดยพิจารณาถึงระยะเวลาที่เก็บเกี่ยวของอะโวคาโดแต่ละพันธุ์จากนั้นทดลองเก็บผลบนต้นในระดับต่างๆประมาณ 6-8 ผล เพื่อผ่าดูเยื่อหุ้มเมล็ด หากเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีน้ำตาลทั้งหมดก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ในการเก็บเกี่ยวต้องให้มีขั้วผลติดอยู่กับผล หากขั้วผลหลุดออกจากผลจะทำให้ผลเสียหายได้ง่ายขณะบ่มให้สุก
วิธีการเก็บเกี่ยวทำได้โดยเด็ดหรือใช้กรรไกรตัดขั้วผลหลุดออกจากกิ่งเมื่อเก็บแล้วให้ใส่ลงในภาชนะที่รองด้วยกระดาษหรือฟองน้ำที่ป้องกันความเสียหายได้
แมลงศัตรู อะโวคาโด
1. ด้วงงวงกัดกินใบ การป้องกันกำจัด ใช้ดีลคริน 50% (W.P.)ความเข้มข้น 0.1-0.5% ฉีดพ่นตามใบ
2. หนอนผีเสื้อ การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นสารเคมีโดยใช้คาร์บาริล85 อัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
3. เพลี้ยไฟ การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นสารเคมีโมโนโครโตรฟอสอัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
4. เพลี้ยแป้ง การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีชนิดดูดซึมผสมไวท์ออยล์ฉีดพ่น
5. หนอนเจาะกิ่ง การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นสารเคมีเข้ารูที่เจาะด้วยคาร์บอนไดซัลไฟล์
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ www.doae.go.th, www.sarakaset.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ