การเพาะเลี้ยง หอยเชอรี่สีทอง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่
มารู้จัก ” หอยเชอรี่สีทอง ” กันครับ
หอยเชอรี่สีทอง เป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่เริ่มมีการเลี้ยงเชิงธุรกิจกันมากขึ้นในทุกภาคของประเทศ แนวโน้มความนิยมบริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นหอยที่มีโปรตีนสูงและต้นทุนการเลี้ยงต่ำ จุดเด่นของหอยเชอรี่สีทอง เนื้อจะนุ่ม ไม่เหนียวเหมือนหอยเชอรี่ทั่วไป เนื้อจะเป็นสีเหลือง เปลือกจะเป็นสีเหลือง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เป้าฮื้อน้ำจืด” สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้ง ลวกจิ้ม ผัด ทอด ลาบ ก้อย ยำ แกงคั่ว
ลักษณะทั่วไปของหอยเชอรี่นั้น มี 2 พวกได้แก่
- หอยเชอรี่เปลือกสีน้ำตาล เนื้อและหนวดมีสีเหลือง
- หอยเชอรี่เปลือกสีเขียวเข้มปนดำและมีแถบสีดำจางๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน มีรูปร่างค่อนข้างกลมผิวเปลือกเรียบ การหมุนของเปลือกเป็นเกลียววนขวา เมื่อโตเต็มที่มีขนาดความยาวประมาณ 83 มิลลิเมตร หนัก 165 กรัม เคลื่อนที่โดยใช้ตีนหอย
ขั้นตอนการเตรียมบ่อสำหรับเลี้ยงหอยเชอรี่
เตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงหอยเชอรี่ เช่น กระชังใน บ่อดินธรรมชาติบ่อซีเมนต์ กระชังบก ก็ได้ ซึ่งหอยเซอรี่นั้น ถือว่าเป็นหอยที่เลี้ยงง่ายและโตไว แถมยังกินเก่ง โดยในขึ้นตอนการเตรียมบ่อนั้นให้เราใส่พืชน้ำ เช่น แหน ผักตบ ผักบุ้ง ทางมะพร้าว เศษไม้ สำหรับไว้ให้หอยเชอรี่เกาะ หรือ ผักพื้นถิ่นที่หาได้ตามธรรมชาติ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายการเตรียมสายพันธุ์ ซึ่งสามมารถที่จะเลี้ยงจาก พ่อแม่พันธุ์หอยเซอรี่สีทอง หรือ จะเลี้ยงจากไข่ก็ได้ (สีชมพูแก่ค่อนไปสีเทา) เพื่อนำมาปล่อยในพื้นที่เลี้ยงที่เตรียมไว้ เลี้ยงระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ก็สามารถจับขาย ขนาดประมาณ 50 -60 ตัว กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 50 – 80 บาท ขายตามร้านส้มตำ และร้านอาหารอีสานทั่วไป
การเลี้ยงหอยเชอรี่ในบ่อซีเมนต์
- นำวงบ่อซีเมนต์ตามขนาดที่ต้องการมาเติมน้ำจนเกือบจะเต็มบ่อซีเมนต์ เพื่อเป็นการทำให้น้ำขังอยู่กายในบ่อซีเมนต์
- นำหขวกกล้วยที่ผ่านการสับมาแล้ว ผสมกับมูลสัตว์ ในการผสมทั้งสองส่วนนี้ เพื่อเป็นการกำจัดกลิ่นและคราบของบ่อซีเมนต์ออกไป
- ทิ้งน้ำที่อยู่ในบ่อซีเมนต์ไว้นานประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะมีตะไคร่น้ำขึ้นที่บริเวณขอบภายในบ่อซีเมนต์ ก็สามารถนำบ่อซีเมนต์ไปใช้ในการเลี้ยงหอยเชอรี่ได้
การเลี้ยงหอยเชอรี่ในกระชัง
- ใช้กระชังขนาดความกว้างประมาณ 3 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร และมีความยาวประมาณ 120 เซนติเมตร
- นำกระชังไปผูกในแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งที่มีหอยเชอรี่ โดยให้กระชังที่มุมล่างและมุมบนของกระชังทั้งสี่ด้านยึดติดกับเสาทั้ง 4 ต้น หรือให้เพิ่มบริเวณตรงกลางให้ความยาวของกระชังอีกด้านละต้น ให้รวมกันได้ทั้งหมด 6 ต้น ให้ขอบบนของกระชังอยู่เหนือจากระดับน้ำประมาณ 20-30 เซนติเมตร พยายามอย่าให้กันกระชังติดกับพื้นดิน
- ใส่ทางมะพร้าวสด ขนาดยาว 1 เมตร ลงไปในกระชัง 2-3 ขึ้น พยายามอย่าให้ทางมะพร้าวซ้อนทับกัน และควรผูกไว้ เพื่อไม่ให้ทางมะพร้าวทับก้นกระชัง
- นำหอยเชอรี่ขนาดใหญ่ หรือขนาดที่ โตเต็มไว้สำหรับพร้อมรับประทานได้แล้วลงไปในกระชัง จำนวน 2 กิโลกรัม ต่อกระชัง โดยการกัดเลือกหอยเชอรี่ที่ยังสดใหม่อยู่ ซึ่งสังเกต ได้จากการนำหอยเชอรี่ไปแช่ในน้ำทิ้งไว้ แล้วถ้หากหอยขมคว่ำตัวติดกับภาชนะ นั่นหมายความว่าหอยเชอรี่ยังมีชีวิตอยู่ และสดใหม่
- วันที่สองให้ยกทางมะพร้าวขึ้นดูว่าพบหอยเชอรี่ขนาคเล็กๆเกาะตามทางมะพร้าวหรือไม่ ซึ่งทางมะพร้าวที่แช่อยู่ในน้ำนานๆ จะเน่าเปื่อยผุพัง จึงจะต้องมีการเปลี่ยนทางมะพร้าวใหม่ทุกๆเดือน เดือนละ 2-3 ครั้ง หอยเชอรี่ที่เลี้ยงในกระชังจะกาะกินตะไคร่น้ำและซากเน่าเปื่อยอยู่ตามทางมะพร้าว ตลอดจนบริเวณด้านข้างและก้นกระชัง โดยมิให้อาหารเสริมนอกเหนือจากนี้
หลังจาก 2 เดือน จึงจะทยอยกัดเลือกเก็บหอยเชอรี่ตัวใหญ่ขึ้นมาเพื่อนำมารับประทาน หรือจำหน่าย เพื่อไม่ให้หอยเชอรี่อยู่กันหนาแน่นเกินไป จะทำให้หอยเชอรี่เจริญเติบโตช้า
การเลี้ยงหอยเชอรี่เลียนแบบธรรมชาติ (บ่อดิน, ร่องสวน)
- ปล่อยพันธุ์หอยเชอรี่ขนาดประมาณ 60 ตัวต่อกิโลกรัม จำนวน 2 กิโลกรัม โดยการตัดทางมะพร้าวขนาด 1-2 เมตร ปักลงไปเป็นจุดๆให้ทั่วร่องสวน
- เมื่อทางมะพร้าวเน่าเปื่อยหรือมีตะไคร่ จับ หอยเชอรี่จะเข้ามาเกาะและกินตะไคร่น้ำเป็นอาหาร โดยไม่จำเป็นต้องให้อาหารอื่นๆนอกจากตะไคร่น้ำจากการขังน้ำไ ว้ วิธีนี้ใช้ระยะเวลาเพียงแค่ 6 เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างน้อยมาก จากจำนวนที่ปล่อยประมาณ 2 กิโลกรัม ระยะเวลาในการเลี้ยง 6 เดือน แต่ผลผลิตหอยเชอรี่ที่ได้นั้นจะได้ทั้งหมด 100 กิโลกรัม ถือว่าเป็นวิธีการที่ได้ผลผลิตสูงมากและใช้เวลาน้อย จึงนิยมใช้วิธีนี้กันเป็นจำนวนมาก
อาหารและการให้อาหารหอยเชอรี่
หอยเชอรี่กินพืชได้หลายชนิด เช่นสาหร่ายแอลจี, แหนแดง, แหน, ผักตบชวา, ต้นข้าวกล้าและพืชน้ำที่มีใบอวบน้ำอื่นๆ หอยชอบส่วนของลำต้นพืชที่มีความอ่อนนุ่ม เนื่องจากมันกินด้วยอวัยวะที่คล้ายลิ้นอันขรุขระขูดไปมาบนผิวพืชหอยชอบกินซากพืชสัตว์ที่เน่าเปื่อยเป็นอาหารด้วยอาหารปลาดุกเล็ก เพื่อให้การเจริญเติบโตที่ดี
การดูเพศของหอยเชอรี่สีทอง
- ตัวเมีย ก้นจะออกสีดำฝาของหอยจะปิดแนบชิดกับปากหอย
- ตัวผู้ ก้นหอยจะออกสีขาวใสฟ้าจะนอนโค้งเว้า
การฟักไข่และการอนุบาลหอยเชอรี่สีทอง
รวบรวมไข่ (สีชมพูแก่ค่อนไปสีเทา) ที่ได้จากการวางไข่ตามบ่อเลี้ยงไปฟักในตระกร้าฟักไข่ หรือในกล่องพลาสติก ไข่ของหอยเชอรี่สีทอง หลังจากที่นำมาฟักในพื้นที่ที่เตรียมไว้ หลังจากผ่านไปได้ 10 -14 วัน จะเริ่มออกมาเป็นตัวให้เห็น โดยการเลี้ยงก็จะนำลูกหอยที่เกิดใหม่ใส่ลงไปในบ่อเลี้ยงที่เตรียมไว้ ซึ่งภายในบ่อจะมีผักตบชวาใส่ลงไปบ้างเพื่อให้ลูกหอยเกาะ
หลังจากลูกหอยเชอรี่ฟักออกมาได้ประมาณ 20 วัน หลังจากที่เลี้ยงไปเรื่อยๆ ลูกหอยก็จะมีขนาดใหญ่เท่ากับปลายนิ้วก้อย ในช่วงนี้จะให้ลูกหอยกินแหนแดงเป็นหลัก เสริมด้วยอาหารปลาดุก เลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 3 เดือน ลูกหอยเชอรี่สีทองก็จะได้ขนาดที่พร้อมจำหน่ายได้
คุณค่าทางอาหารของหอยเชอรี่สีทอง
คุณค่าทางอาหารของเนื้อหอยเชอรี่หนัก 100 กรัม
- พลังงาน 83 แคลอรี่
- โปรตีน 12.2 กรัม
- ไขมัน 0.4 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 6.6 กรัม
- เถ้า 3.2 กรัม
- ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม
- โซเดียม 40 มิลลิกรัม
- โปตัสเซียม 17 มิลลิกรัม
- ริโบฟลาวิน B 2 12 มิลลิกรัม
- นิอาซิน 1.8 มิลลิกรัม
อื่น ๆ ได้แก่ วิตามินซี ,สังกะสี , ทองแดง, แมงกานีส และไอโอดิน
ประโยชน์ของหอยเชอรี่
เนื้อหอยเชอรี่มีโปรตีนสูงถึง 34 13 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.66 เปอร์เซ็นต์ ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่างเช่น ส้มตำ หรือทำน้ำปลาจากเนื้อหอยเขอรี่ ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ สุกร เป็นต้น เปลือกก็สามารถปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ ตัวหอยทั้งเปลือกถ้านำไปฝังบริเวณทรงพุ่มไม้ผล เมื่อเน่าเปื่อยก็จะเป็นปุ๋ยทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตเร็ว และได้ผลผลิตดีไม่ควรบริโภคเนื้อหอยเชอรี่ในบริเวณที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสีย หรือบริเวณพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
สถาบันหัวใจและปอดแห่งชาติของแคนาดา ระบุว่า หอยเชอรี่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร คือเป็นแหล่งของวิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง ไทอามีน วิตามินบีสองไรโบเฟลวิน วิตามินมีสาม ไนอาซิน วิตามินชี กรดแอสคอร์บิคและวิตามินดี แคลซิฟีรอล การบริโภคหอยเชอรี่ช่วยให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุประเภท แร่เหล็ก ทองแดงไอโอดีน แบกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี แมงกานีส และฟอสฟอรัส อย่างไรก็ตาม หอยเขอรี่ดิบอาจมีพยาธิและแบคทีเรียจึงควรหลีกเสี่ยง แต่ปัจจุบันหอยชนิดนี้เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมอย่างสูงด้วยรสชาติที่อร่อย
ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง
- หอยขม และการเลี้ยงหอยขมศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสัตว์น้ำชายฝั่ง (สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สงขลา) การเลี้ยงหอยขม
- สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากรากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), บัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพมอลลัสกาในประเทศไทย หอยฝ่าเดียวน้ำจืด
- กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองอุดรธานี, เทคนิคการเลี้ยงหอยขม www.sarakaset.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ