เพิ่มรายได้ในสวนยางพารา โดยการปลูกพืชร่วมและทำกิจกรรมเสริม
ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ชาวสวนยางต้องมีรายได้เพิ่มมากขึ้นให้สมดุลกับที่สูงขึ้นประกอบกับราคายางพารายังไม่มีเสถียรภาพที่จะสร้างความมั่นใจให้กับซาวสวนยางได้ดังนั้นการปลูกพืชร่วม การปลูกพืชแซม และทำกิจกรรมเสริมเพิ่มรายได้ในสวนยางพาราจึงเป็นคำตอบอีกหนึ่งแนวทางที่สามารถเพิ่มรายได้ และพึ่งพาตัวเองได้
ข้อควรพิจารณาในการเลือกการปลูกพืชร่วม ปลูกพืชแซม และทำกิจกรรมเสริมรายได้ในสวนยางพารา
- การตลาดและเงินทุน เช่น ผลผสิตควรเป็นที่ต้องการของตลาดท้องถิ่นระยะเวลาการเก็บรักษาผลผลิต ควรเก็บได้นาน สามารถนำไปจำหน่ายยังตลาดไกลๆ ได้ระยะเวลาให้ผลตอบแทน และความสามารถในการจำหน่าย นอกจากการตลาดแล้ว เงินทุนนับเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องใช้ในการซื้อปัจจัยการผสิตต่างๆ
- สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ได้แก่ สภาพพื้นที่ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ สภาพร่มเงาในสวนยางพารา ฯลฯ
- วิธีปลูกและดูแลรักษา การปลูกพืชสริมรายได้ในสวนยางพาราควรมีการเอาใจใส่ดูแลรักษาพืชนั้นๆ เช่น การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช การตัดแต่งกิ่ง ตลอดจนการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช สำหรับสวนยางพาราขนาดเล็กที่มีพื้นที่ต่ำกว่า 15 ไร่ ควรใช้แรงงานในครอบครัวในการดูแลรักษาจะช่วยให้ลดต้นทุนการผลิตในการปลูกพืชนั้นๆ
- พืชที่ไม่ควรปลูกในระหว่างแถว ได้แก่ พืซที่มีการเจริญเติบโตเร็วกว่าต้นยางพารามีการใช้ปุ๋ยปริมาณสูง ตลอดจนเป็นแหล่งของโรคและแมลงที่เป็นศัตรูของต้นยางเช่น มันสำปะหลัง อ้อย
การปลูกพืชร่วมยางพารา
หมายถึง พืชที่ปลูกระหว่างแถวยางพารา สามารถปลูกและเจริญเติบโตร่วมกับต้นยางพาราได้และให้ผลผลิตควบคู่กันไป ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางพารา และพืชที่นำมาปลูกร่วมกับต้นยางพารา จะต้องมีการเจริญเติบโตตามปกติ โดยสามารถแบ่งชนิดของพืชร่วมยางพาราได้ ดังนี้
- ไม้ผล เช่น ลองกอง ลางสาด ขนุน จำปาดะ ระกำ มังคุด ฯลฯ
- ไม้ยืนต้น เช่น สะตอ เนียง หวาย เหมียง ฯลฯ
- พืชสมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น ขิง กระวาน ขมิ้นชัน ฯลฯ
- ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดาหลา หน้าวัว จั๋ง หมากแดง ฯลฯ
- ผัก เช่น ผักเหลียง ผักกูด ฯลฯ
การปลูกพืชแซมยางพารา
หมายถึง พืชที่ปลูกในระหว่างแถวยางพาราขณะที่ต้นยางพาราอายุไม่เกิน 3 ปีและพื้นที่ระหว่างแถวยางพาราต้องมีปริมาณแสงแดดมากกว่า 50 % ของปริมาณของแสงทั้งหมด การปลูกพืชแซมยางพาราไม่ควรเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโต ระบบรากขยายแตกกอมากจนไปรบกวนต้นยางพารา และควรปลูกพืชที่ต้องการแสงแดดในช่วงการเจริญเติบโต เป็นพืชส้มลุก มีอายุสั้น และดูแลรักษาง่าย โดยพืชที่แนะนำให้ปลูกแซมยางพาราแบ่งตามอายุได้ ดังนี้
- พืชที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพต พืชตระกูลถั่ว พริก มะเขือเทศ มะระ ถั่วฝึกยาว แตงกวา แตงโม และผักชนิดต่างๆ
- พืชที่มีอายุมากกว่า 1 ปี เช่น กล้วย มะละกอ สับปะรด และหวายตัดหน่อ เป็นต้น
กิจกรรมเสริมรายได้ในสวนยางพารา
หมายถึง อาชีพอื่น ๆ ที่เหมาะกับชาวสวนยาง ได้แก่ การเพาะเห็ดรวมถึงการเลี้ยงแมลง การเลี้ยงสัตว์ การทำประมง การแปรรูป ฯลฯ ทั้งนี้ การเลือกปลูกพืชร่วมการปลูกพืชแซม และทำกิจกรรมเสริมเพิ่มรายได้ในสวนยางพาราชนิดใดชนิดหนึ่งจะต้องคำนึงถึงระยะเวลาการให้ผลตอบแทน เช่น มีรายได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนและรายปีในแต่ละชุมชน ควรมีการรวมกลุ่มผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี มีเอกลักษณ์และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
เนื่องจากระยะเวลาปลูกยางพาราใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน ชาวสวนยางจึงไม่ควรพึ่งพารายได้จากยางพาราเพียงอย่างเดียว และจากบทเรียนด้านราคายางพาราที่ตกต่ำหลายๆ ครั้งที่ผ่านมาเกษตรกรควรมีการวางแผนเพื่อสร้างรายได้ของครัวเรือนใหม่ กระจายรายได้ไปยังกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำกษตรผสมผสาน ที่มีการพึ่งพารายได้จากการปลูกพืชร่วมที่หลากหลาย ได้แก่ไม้ยืนต้น พืชผัก ปลูกพืชแซม และพืชไร่ เป็นต้น การทำกิจกรรมเสริมเพิ่มรายได้ในสวนยางพาราเช่น ปศุสัตว์ เลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและประมง เป็นต้น โดยน้อมนำพระราชดำริหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อต้องประสบกับปัญหาราคายางพาราตกต่ำ
ตัวอย่าง การปลูกพืชร่วมยางพารา
การปลูกขมิ้นชัน
- การเตรียมพื้นที่ โดยการไถพรวนและยกร่อง ตากดินประมาณ 10-15 วัน
- พันธุ์ ขมิ้นชันพันธุ์ดีที่กำลังนิยมในท้องตลาด เช่น พันธุ์ตรัง 2 แดงสยามส้มปรารถน าและ เหลืองนนทรี เป็นต้น
- การปลูก ปลูกลงในดินที่ไถพรวนและยกร่องปลูก ระยะระหว่างแถว 75 x 30 เซนติเมตร เริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคมทุกปี โดยการปลูกขมิ้นชัน อาจใช้หัวพันธุ์ 2 ลักษณะคือ ใช้หัวแม่ และใช้แง่ง
- ผลผลิต การเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อขมิ้นชันมีอายุประมาณ 9-12 เดือน ถ้าปลูกโดยใช้หัวแม่ ที่มีรูปร่างคล้ายรูปไข่ ขนาดน้ำหนักประมาณ 15-50 กรัมต่อหัวระยะปลูกที่ 75 x 30 เซนติเมตร ให้ผลผลิตประมาณ 3,300 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้าปลูกด้วยแง่งขนาด 15 – 30 กรัมต่อชิ้น หรือ 7 -10 ปล้องต่อชิ้น จะให้ผลผลิตน้ำหนักสดประมาณ 2,800 กิโลกรัมต่อไร่
การปลูกผักเหลียง
- การเตรียมดิน ทำการขุดหลุมระยะห่างระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 3 เมตร หรือทำการปลูกร่วมในสวนยางหรือสวนมะพร้าวในช่วงปีแรกๆ
- แหล่งพันธุ์และแหล่งผลิตทางการค้า ได้แก่ จังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ พังงา และสุราษฎร์ธานี
- การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน ใช้ปุ๋ยสูตร 15-7-18 , 15-15-15 ผสมกับปุ๋ยสูตร 12-5-14 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี กรณีปลูกร่วมสวนยางในสวนไม้ผล ช่วงต้นฤดูฝนใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อปี
- การเก็บเกี่ยว เริ่มเมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป เก็บเกี่ยว 15-30 วันต่อครั้ง เก็บยอดอ่อนถึงยอดเพสลาด ควรเด็ดให้ชิดข้อไม่เด็ดกลางข้อหรือตัด เพราะจะทำให้การแตกยอดอ่อนในครั้งต่อไปช้า
- การดูแลรักษาหลังการเก็บเกี่ยว ยอดอ่อนผักเหลียง ไม่ควรให้ยอดอ่อนถูกแสงแดดและลมควรพรมน้ำแต่พอชุ่ม สามารถเก็บได้นาน 5-6 วัน
การปลูกกล้วย
- พันธุ์ที่เหมาะสม ได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ และกล้วยเล็บมือนาง
- การปลูกกล้วย ในพื้นที่ว่างระหว่างแถวยาง สามารถกระทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
- ปลูกกล้วย 2 แถว ระหว่างแถวยาง ห่างจากแถวยาง 2 เมตร ระยะระหว่างแถวกล้วย 3 เมตรระหว่างต้น 2.5 เมตร ไว้หน่อกล้วย 2 – 3 หน่อต่อหลุม
- ปลูกกลัวย 3 แถว ระหว่างแถวยาง ห่างจากแถวยาง 2 เมตร ระยะระหว่างแถวกลัวย 1.5 เมตร ระหว่างต้น 2.5 เมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา ไว้หน่อกลัวย 1 หน่อต่อหลุม
- การเตรียมดิน ขุดหลุมปลูก ขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใส่ดินบนคลุกเคล้าปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว วางหน่อกล้วยให้ส่วนยอดสูงกว่าระดับ 4 นิ้ว โดยส่วนตาอยู่ลึกในดิน 1 ฟุต เกลี่ยดินล่างให้เต็มหลุมและอัดแน่น ในปีแรกอาจปลูกถั่ว ข้าวโพด พืชผัก ในพื้นที่ว่างระหว่างแถวกลัวยได้อีก
- การปฏิบัติดูแลรักษาที่เหมาะสม เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยเคมี การตัดแต่งหน่อกลัวยและใบกล้วย การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น โรคตายพราย ด้วงงวงไซเหง้า และต้นหนอนม้วนใบ และแมลงวันผลไม้
- การเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เมื่อต้นกล้วยตกปลีแล้ว 10-17 วัน ให้ตัดปลีทิ้ง และเก็บผลได้หลังจากนั้น 60 -70 วัน
ปลูกผักพื้นบ้านผักกูด
- การเตรียมดิน โดยการไถดินพร้อมการใส่ปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยคอก แล้วขุดหลุมปลูก ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร นำไหลหรือหัวที่เตรียมไว้วางในหลุมแล้วเอาดินกลบโคน
- การดูแลรักษา เมื่อผักกูดตั้งตัวได้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ผสมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 75 กิโลกรัมต่อไร่ ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง
- การเก็บเกี่ยว เริ่มเมื่ออายุ 6 เดือน เก็บเกี่ยว 3 วันครั้ง เก็บยอดอ่อน
ตัวอย่าง กิจกรรมเสริมรายได้ในสวนยางพารา
การเลี้ยงแพะ
สำหรับการเลี้ยงแพะนั้นต้องมีตลาดรองรับ ต้องมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการเลี้ยงแพะขุน ต้องมีโรงเรือน แปลงหญ้าที่เหมาะสม และแรงงานที่พร้อมเพียง เกษตรกรควรเป็นสมาชิกกลุ่ม ชมรม หรือเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะระดับต่างๆ
- พันธุ์แพะ เป็นแพะพื้นเมือง หรือลูกผสมแพะเนื้อแองโกฯ บอร์ เป็นต้น
- ระยะการเลี้ยง เริ่มต้นเลี้ยงแม่แพะสาว อายุประมาณ 8 – 1 ปีเศษ น้ำหนักที่ไม่ต่ำกว่า 18 กิโลกรัม เป็นแพะเพศเมีย 20 ตัว พ่อพันธุ์ 1 ตัว ผสมพันธุ์จนแม่แพะตั้งท้องนาน 5 เดือน คลอกได้ลูก 1 ตัว /คลอกในปีแรก และตั้งแต่ปี ที่ 2 ได้ลูก 2 ตัว/คลอก โดยทั่วไปจะได้ผลผลิต 3 คลอก ใน 2 ปี หรือ ได้ลูก 5- 6 ตัว/แม่/2ปี หรือ 2.5 ตัว/แม่ปี
- แพะอายุประมาณ 8 – 1 ปีเศษ น้ำหนักประมาณ 18 กิโลกรัมขึ้นไป สามารถจำหน่ายกิโลกรัมสะ 120 – 160 บาท(ภาคใต้) และจำหน่ายในราคา 90 – 110 บาท (ภาคกลางและภาคอื่นๆ)
- ต้องมีอาหารหยาบได้แก่ หญ้า ถั่ว ไม้ยืนต้น เป็นต้นและเสริมด้วยอาหารข้น โดยต้องจัดทำแปลงพืซอาหารสัตว์หรือมีพืชอาหารสัตว์ในทำเลสาธารณะสำหรับแพะที่เพียงพอ
- ทำวัคซีนป้องกันโรคและถ่ายพยาธิตามโปรแกรมที่ครมปศุสัตว์แนะนำ
เลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์
- พันธุ์กบที่จะนำมาเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว
- เริ่มต้นเลี้ยง
โดยนำลูกกบอายุประมาณ 30-45 วัน ที่มีขนาดไกล้เคียงกันลงเลี้ยงในบ่อเดียวกัน จำนวน 1,200 ตู้ว (อัตราปล่อย 100 ตัวต่อตารางเมตร เมื่อคัตลูกกบลงเลี้ยงในบ่อเลี้ยงแล้วให้ใส่วัชพืชน้ำและวัสดุลอยน้ำลงไป เช่น แพไม้ไผ่ ไม้กระดานหรือแผ่นโฟม เพื่อให้กบขึ้นไปอาศัยอยู่และนำทางมะพร้าวมาคลุมบ่อเพื่อบังแดดด้วย ระดับน้ำในบ่อประมาณ 30 เชนติเมตร ในช่วงที่นำลูกกบลงไปเลี้ยงบ่อซีเมนตใหม่ๆในระยะนี้ ให้ใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบเล็กไประยะหนึ่งก่อน เมื้อกบโตขึ้นจึงค่อยให้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงกบโต หรืออาหารเม็ดสำเร็จรู้ปสำหรับปลาดุกวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้า-เย็น ปริมาณอาหารที่ให้ขึ้นอยู่กับปริมาณการกินอาหารของกับ โตยใช้หลักการสังเกตว่าหลังจากให้อาหารไปแล้วประมาณ 20 นาที หากกบกินอาหารหมดก็จะเพิ่มอาหารให้อีก นอกจากอาหารเม็ดแล้วสามารถใช้เนื้อปลาสับหรือ เนื้อหอยโข่งสับ มาใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อลดต้นทุนค่าอาหาร ในระหว่างการเลี้ยงควรจะคัดขนาดของกบประมาณ 3 -4 ครั้ง โดยคัดกบที่มีขนาดเท่า ๆ กันปล่อยลงเลี้ยงในบ่อเดียวกัน เพื่อป้องกันกบกินกันเอง ใช้ช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 3 -4 เดือน จะได้กบขนาด 4 -5 ตัวต่อกิโลกรัม หรือน้ำหนักประมาณ 200 -300 กรัมต่อตัว ก็สามารถจับกบออกจำหน่ายได้ - การดูแลรักษาการเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ต้องมีการขัดล้างบ่อและถ่ายเทน้ำ เพราะถ้าที่อยู่อาศัยของกบสะอาดและมีสุขลักษณะที่ดีกบจะมีการเจริญเติบโตดี ไม่เป็นโรคได้ง่ายนอกจากนั้น กบเป็นสัตว์ที่ตื่นและตกใจง่าย ซึ่งเมื่อตกใจแล้วกบจะเกิดการซักเป็นตะคริวและช็อกตายได้ดังนั้น การทำความสะอาดภายในบ่อเลี้ยงกบต้องทำด้วยความระมัดระวัง
ที่มา: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บทความอื่นที่น่าสนใจ