วิธีเลี้ยงกุ้งฝอย และขั้นตอนการเตรียมบ่อตั้งแต่เบื้องต้น
วิธีการเลี้ยงกุ้งฝอย
สวัสดีครับ วันนี้ เรามี วิธีการเลี้ยงกุ้งฝอย พร้อมทั้งขั้นตอนการเตรียมบ่อตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งสำหรับมือใหม่ที่ต้องการหารายได้เสริม หรือว่าต้องการทำเป็นอาชีพหลักก็ได้เพราะรายได้ไม่ธรรมไม่ดาเลยทีเดียวครับ ติดตามเทคนิค ข้อมูลดีๆ ด้านการเกษตรและเทรนด์ด้านการเกษตร ได้ที่นี่ Kasetbanna.com
“กุ้งฝอย” พบได้ทั่วไปในภูมิภาคของประเทศไทย เป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไป เช่น กุ้งเต้น ทอดมันกุ้ง กุ้งฝอยทอด กุ้งฝอยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้ง โปรตีนและแคลเซียม ปัจจุบันนี้กุ้งฝอยเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากการเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำธรรมชาติ บางครั้งใช้กุ้งฝอยเป็นอาหารเลี้ยงอนุบาลลูกปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลาบู่ ปลาช่อน ปลากราย และปลาสวยงาม ทำให้เกิดความไม่เพียงพอต่อความต้องการที่มีแนวโน้มสูงมากขึ้น ขณะนี้ราคากุ้งฝอยในท้องตลาดตั้งแต่กิโลกรัมละ 300-400 บาท มีเกษตรกรบางรายนำมาเพาะเลี้ยงกุ้งฝอย ผลปรากฏว่า อัตราการรอดต่ำ เลี้ยงอย่างหนาแน่นไม่ได้ และอาจจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
กุ้งฝอย ชอบซ่อนตัวอยู่ตามใต้ก้อนหินหรือเกาะตามพรรณไม้ ชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งหรือไหลเอื่อยๆ น้ำขุ่น ลึกไม่เกิน 1 เมตร มีอินทรียวัตถุทับถมกัน กุ้งฝอยเพศเมียจะเริ่มมีไข่และผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 60 วันขึ้นไป จะสร้างไข่เก็บไว้ในถุงเก็บไข่ กุ้งเพศผู้จะพยายามติดตามกุ้งเพศเมียตลอดเวลา หลังจากกุ้งเพศเมียลอกคราบภายใน 3-6 ชั่วโมง ขณะที่เปลือกของกุ้งเพศเมียยังอ่อนอยู่จะมีการผสมพันธุ์กัน โดยกุ้งเพศผู้จะปล่อยน้ำเชื้อที่อยู่ในถุงเก็บน้ำเชื้อที่อยู่บริเวณโคนขาช่วงที่ 5 ปล่อยน้ำเชื้อในถุงเก็บน้ำเชื้อเพศเมียเพื่อผสมกับไข่ ไข่ที่ผสมแล้วจะเคลื่อนไปอยู่ในส่วนล่างของท้องบริเวณขาว่ายน้ำ กุ้งเพศเมียจะพัดโบกขาว่ายน้ำตลอดเวลา เพื่อให้ไข่ได้รับออกซิเจน แม่กุ้งฝอยขนาดยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร จะมีไข่ประมาณ 200 – 250 ฟอง หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 3 วัน ไข่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนและสีเหลือง ต่อมาอีก 7-9 วัน จะมองเห็นตาของตัวอ่อนอย่างชัดเจน หลังจากนั้นไข่ในท้องแม่กุ้งฝอย จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและฟักออกมาเป็นตัวเมื่ออายุ 21-25 วัน
วิธีเลี้ยงกุ้งฝอย
วิธีการเพาะเลี้ยงกุ้งฝอย สามารถเพาะเลี้ยงได้ 2 วิธี คือ
- การนำพ่อแม่พันธุ์กุ้ง ประมาณ 50 ตัว ปล่อยลงในบ่อเลี้ยงที่มีกระชังภายในบ่อ เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์กุ้งฝอยผสมพันธุ์กันเอง วิธีนี้ใช้เวลา 2-3 เดือน แต่จะมีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 20-30% เนื่องจากกุ้งมีขนาดที่ต่างกัน กุ้งจะกินกันเอง เพราะมีทั้งกุ้งฝอยขนาดใหญ่และขนาดเล็กปะปนกัน
- อีกวิธีหนึ่งคือ การคัดแม่พันธุ์ที่มีไข่แล้วมาขยายพันธุ์ มีอัตราการรอดชีวิต 80% มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงขอแนะนำเกษตรกรใช้วิธีนี้ เนื่องจากจะได้กุ้งฝอยที่มีขนาดเดียวกัน การปฏิบัติดูแลรักษาง่าย สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ การลงทุนต่ำ สามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี
วิธีการเลี้ยงกุ้งฝอย ในบ่อซีเมนต์
ขั้นตอนวิธีการเพาะเลี้ยงกุ้งฝอย
เริ่มต้นจากการรวบรวมกุ้งเพศเมียจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวนประมาณ 80-100 ตัว นำมาพักไว้ในกระชังอย่างน้อย 1 คืน คัดเลือกเฉพาะกุ้งเพศเมียที่มีไข่แก่ มองเห็นตาของลูกกุ้งในท้อง เพาะฟักในตะแกรงที่แขวนไว้ในกระชังผ้า ขนาด 1x1x1 เมตร ในบ่อซีเมนต์หรือบ่อดิน ให้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีน 33% ให้อาหารประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว แบ่งให้ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ประมาณ 3-4 วัน ไข่จะฟักออกมาเป็นตัว แยกแม่กุ้งออกจากกระชัง แล้วคัดลูกกุ้งที่มีขนาดเดียวกัน เพื่อสะดวกในการจัดการเพาะเลี้ยง นำลูกกุ้งที่ได้ไปอนุบาลในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว ปริมาณ 50,000 ตัว ในบ่อขนาด 1x1x1 เมตร สัปดาห์แรก ให้ไข่แดงต้มสุกเป็นอาหาร สัปดาห์ที่ 2-4 ใช้ไรน้ำจืดขนาดเล็ก เป็นอาหาร จากนั้นจึงให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นอาหารที่มีโปรตีน 40% ให้อาหารในปริมาณ 10% ของน้ำหนักตัว ระยะนี้ต้องระมัดระวังตาข่ายไม่ให้อุดตัน ควรใช้แปรงขนาดเล็กขนอ่อนทำความสะอาดบ่อยครั้ง ใช้เวลาอนุบาลเป็นเวลา 1 เดือน จึงนำไปเลี้ยงในกระชังหรือบ่อซีเมนต์ได้
วิธีและขั้นตอนในการเตรียมบ่อก่อนลงกุ้งฝอยสำหรับบ่อปูน
- ใส่น้ำให้เต็มบ่อปูนแล้วตัดต้นกล้วย ใส่ลงไปแช่ในบ่อผ่าเป็นซึกกลางแล้วตัดเป็นท่อนๆ แช่ไว้ในบ่อประมาณ 7-14 วันเป็นอย่างน้อย
- เมื่อแช่ต้นกล้วยในบ่อได้ตามวันเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เอาน้ำจากออกจากบ่อปูนให้หมด ใส่น้ำลงไปให้เต็มบ่อปูน และใส่เกลือทะเล ลงไปในบ่อปูนประมาณ 1-2 กำมือ พักน้ำไว้ 1 วัน น้ำที่ใช้ถ้าเป็นน้ำปะปาก็จะมีดีกว่าน้ำบาดาล แต่ว่าก็จะมีข้อเสียคือมีคลอรีนเพราะฉนั้นจึงจำเป็นต้องแช่บ่อเพื่อให้คลอรีนเจือจาง และก็เปิดอ๊อกซิเจนเพื่อเพิ่มอากาศให้กับน้ำในบ่อปูน
- เมื่อได้เตรียมความพร้อมของบ่อปูนและได้เตรียมน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็หาพืชน้ำมาลงบ่อ แต่ก่อนที่นำพืชน้ำต่างมาลงในบ่อควรล้างให้สะอาดก่อนนำมาใส่ในบ่อนะ เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆที่ติดมากับพืชที่จะนำมาใส่ และุถ้าให้ดี ใส่ใบก้ามปูแห้งลงไปในบ่อด้วยก็ดี เพราะจะป้องกันโรคพยาธิในกุ้งฝอยได้ด้วย
- เรียบร้อย เทคนิคง่ายๆ ที่ไม่ควรมองข้าม ลองนำมาประยุกต์ใช้ก่อนการเลี้ยงกุ้งฝอยนะคะ สำหรับกุ้งฝอยที่จะนำมาลงเลี้ยงนั้น หาได้ง่ายๆตามแหล่งธรรมชาติ หรือเลือกซื้อตามตลาดที่แม่ค้าพ่อค้านำมาขาย ก็เลือกเอาที่ท้องมีไข่ มาเพาะเลี้ยงไม่เกิน 1 สัปดาห์ ลูกกุ้งก็จะออกมาเดินเต็มบ่อให้เราชื่นชมแล้วค่ะ แต่ก่อนที่จะนำกุ้งฝอยลงบ่อ ก็ต้องมีการจัดการให้ดีก่อนการนำไปลงในบ่อ
จากนั้นจึงนำลูกกุ้งที่อนุบาลมาแล้วประมาณ 1 เดือน ปล่อยลงในบ่อ อัตรา 30,000-50,000 ตัว เลี้ยงประมาณ 2 เดือน ก็สามารถจับขายได้ มีอัตรารอด 80% ที่สำคัญการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ควรช่วยการหายใจด้วยระบบการเติมออกซิเจนด้วย
วิธีการเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อพลาสติก
ขั้นตอนการเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งฝอย
- เตรียมบ่อลึก 70 เซนติเมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 8 เมตร
- ปูก้นบ่อด้วยพลาสติกสีดำ นำดินมาเทถมให้ทั่วก้นบ่อบนพลาสติกประมาณ 7-8 เซนติเมตร
- เติมน้ำลงไปให้เต็มบ่อพอดี ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน
- นำสาหร่าย ผักตบชะวา หญ้าขน นำมาทิ้งไว้ให้เป็นฟ่อนๆ ประมาณ 4-5 ฟ่อน
- แล้วปล่อยกุ้งลงไปประมาณ 5 ขีด ช่วงปล่อยกุ้งลงไปไม่ต้องให้อาหารประมาณ 7 วัน เพื่อให้กุ้งปรับสภาพในบ่อ
อาหารกุ้งฝอย
- ต้มไข่ให้สุก เอาเฉพาะไข่แดง 2 ฟอง
- รำอ่อน 3 ขีด ผสมให้เข้ากัน ปั้นเท่ากำปั้น โยนลงไปในบ่อประมาณ 3 ก้อน
- หลังจากให้อาหารประมาณ 1 เดือน กุ้งจะวางไข่ ให้สังเกตตอนกลางคืนโดยการนำไฟฉายมาส่องดุว่ากุ้งจะวางไข่หรือไม่
เทคนิคการเร่งกุ้งให้วางไข่
สูตรวิธีการช่วยดับกลิ่น ฆ่าเชื้อ โรคในบ่อ และให้กุ้งโตเร็ว
- EM 2 ช้อนแกง
- กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง
- น้ำ 1 ลิตร
วิธีการเลี้ยงกุ้งฝอย นอกจากจะเลี้ยงเพื่อนำมาปรุงเป็นอาหารที่ยอดฮิต อย่างกุ้งเต้น หรือเรียกกันแบบสวยๆอย่างกุ้งโคโยตี้แล้วก็ยังมีอีกหลายเมนูที่นิยมกันนำไปรับประทาน และสำหรับท่านที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพเสริมหรือรายได้หลักแล้วล่ะก็ การเพาะเลี้ยงกุ้งฝอยถือว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจมากทีเดียว เนื่องจากว่า ต้นทุนและการดูแลไม่มากเหมือนกับกุ้งชนิดอื่น และยังเป็นที่ต้องการทางตลาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นอาหารของเราๆท่านๆแล้ว ยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นอาหารของสัตว์น้ำได้อีกด้วย ติดตามข้อมูลและเทคนิคดีๆ ด้านการเกษตรได้ทุกชนิด
เมนูอาหารยอดนิยมจากกุ้งฝอย
เมนูแรก กุ้งเต้น หรือภาษาอีสานเรียกว่า ก๋อยกุ้ง
“กุ้งเต้น” เป็นเมนูที่ใครหลายๆครับที่ได้ลองแล้วจะติดใจ ซึ่งมันมีความพิเศษตรงที่เสิร์ฟแบบที่กุ้งยังกระโดดอยู่ในจานกันเลย สดจริงๆ แต่สำหรับใครที่กังวลเรื่องพยาธิก็ให้นำไปคั่วให้สุกก่อนกินก็ได้ ซึ่งกุ้งเต้นก็มีหลายสูตรมาก ๆ บางที่ก็ใส่ปลาร้า ใส่ใบมะกรูด หรือใส่มะกอกเพิ่มความหวาน แต่วันนี้เราจะทำสูตรแบบบ้านๆ กันเลย
- กุ้งฝอยสด ๆ เป็น ๆ
- หอมแดง ซอยบาง ๆ
- พริกขี้หนูสดหั่นเป็นแว่นบาง
- พริกป่น
- ตะไคร้ซอย (ตัดที่แข็งออก)
- ข้าวคั่ว (คั่วใหม่ ๆ ) โขกละเอียด
- น้ำปลา
- ใบสะระแหน่ กลิ่นจะฉุนๆ เด็ดเป็นใบ ๆ ไม่หั่น
- ต้นหอม
- ใบผักชีฝรั่ง
- ผักชีจีน
- มะนาว, มะกอก (มะกอกที่ใส่ส้มตำ)
- ผักแพว ภาษาถิ่นภายัพเรียกผักไผ่
เตรียมวัตถุดิบเรียบร้อยก็เข้าวิธีการทำกันเลย
- นำกุ้งสดมาล้างให้สะอาด คัดเลือกสิ่งเจือปนที่ติดมากับกุ้งออกให้หมด ( หากใครไม่ชอบทานดิบๆ เมื่อล้างเสร็จแล้วก็นำไปคั่วในให้กระทะให้สุกก่อนการนำไปปรุง)
- ให้ล้างผักที่เตรียมไว้แล้วทำการหั่นให้เรียบร้อย ขั้นตอนนี้จะคล้ายกับการหั่นผักไว้ทำลาบเลย รูปแบบเดียวกันเลยครับ
- จากนั้นให้เตรียมชามหรือหม้อสำหรับคลุกรวมส่วนผสม จากนั้นใส่กุ้งที่เตรียมไว้ลงไปก่อน ตามด้วยพริกป่น ข้าวคั่ว น้ำมะนาว หอมแดงซอย น้ำปลาร้า ผงนัว มะกอก และอื่นๆ ที่เราเตียมไว้
- ตามด้วยน้ำปลาน้ำปลานิดหน่อยอย่างเพิ่มใส่เยอะ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ชิมรสชาติให้ได้รสชาติที่ต้อง หากจืดไปแล้วค่อยเติมน้ำปลาเพิ่ม เมื่อได้รสชาติที่ต้องการแล้วก็ใส่ผักทั้งหมดที่เตรียมไว้ เพื่อเพิ่มความหอม แล้วโรยหน้าด้วยใบสาระแหน่ เป็นอันเสร็จเรียบร้อยพร้อมเสริ์ฟแล้ว
เมนูนี้เด็ดๆ แบบนี้จะต้องมี ผักกระโดน ผักกระเดา ผักเม็ก หรือผักติ้ว ผักแว่น ผักหนอก หรือ ใบบัวบก กินคู่กันด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติ
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ