ปุ๋ยอินทรีย์ ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์ ที่ได้หรือทำมาจากวัสดุอินทรีย์ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ หมัก บด ร่อนสกัด หรือด้วยวิธีการอื่น และวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ
ความหมายของปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์ที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ซากพืช หรือสัตว์ที่ไถกลบลงดิน รวมถึงพวกอินทรียสารที่เป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร เช่น กากตะกอนอ้อย (filter cake) ทะลายปาล์ม เป็นต้น
หน้าที่หลักของปุ๋ยอินทรีย์ คือ การปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ การทําให้ดินโปร่งร่วนซุย ให้ธาตุอาหารพืชค่อนข้างครบถ้วนและสมดุลดี ทั้งธาตุอาหารหลักและจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริม แต่ส่วนใหญ่จะม็ธาตุอาหารหลักอยู่ในปริมาณต่ำ เกษตรกรจําเป็นต้องใช้ในประมาณค่อนข้างสูงมาก เมื่อใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์เพียงชนิดเดียว โดยไม่มีการใส่รวมกับปุ๋ยเคมี และหน้าที่ที่สําคัญมากอีกประการหนึ่ง ก็คือทําให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้น
ประเภทปุ๋ยอินทรีย์
- ปุ๋ยหมัก (Compost] เป็นปุยอินทรีย์ที่ได้จากการนำวัสดุอินทรีย์จากพืชและสัตว์ทางการเกษตร และได้จากชุมชนมาผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น แล้วผ่านกระบวนการหมักอย่างสมบูรณ์จนแปรสภาพไปจากเดิม โดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์บางชนิดภายใต้สภาวะที่เหมาะสม
- ปิยคอก (Animal manure)เป็นปุยอินทรีย์ที่ได้จากการมูลสัตว์ต่างๆ ได้แก่ มูลเป็ด มูลไก่ มูลสุกร มูลโค มูลค้างคาว เป็นต้น ซึ่งมูลสัตว์เหล่านี้เป็นส่วนของซากพืชซากสตว์จากอาหารสัตว์ที่ผ่านกระบวนการย่อยสลายจากระบบย่อยอาหารของสัตว์มาแล้วจึงเป็นแหล่งของธาตุอาหารพืช
- ปุ๋ยพืชสด (Green manure] เป็นปุยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืชในไร่นาจนเติบโตถึงระยะที่เหมาะสมแล้วไถกลบขณะยังสดเพื่อบำรุงดิน พืชที่นิยมใช้ปลูกส่วนใหญ่เป็นพืชตระกูลถั่ว
ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์
- ประโยชน์ของปุยอินทรีย์ต่อดิน ช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน ทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น เช่น ทำให้ดินมีโครงสร้างดี เก็บน้ำที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้มาก และช่วยการระบายอากาศของดินนอกจากนี้ยังช่วยรักษาความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
- ประโยชน์ของปุ๊ยอินทรีย์ต่อพืช เป็นแหล่งธาตุอาหารพืช ได้แก่ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมอย่างครบถ้วน ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้จะถูกปลดปล่อยออกมาอย่างช้าๆ พืชสามารถใช้ได้เป็นระยะเวลานาน
- ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ต่อสิ่งแวดล้อม การนำวัสดุต่างๆมาทำเป็นปุยอินทรีย์ เป็นการรักษาสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ดังนี้กำจัดแหล่งศัตรูพืช ขยะมูลฝอย ช่วยลดการทำลายเศษพืชโดยการเผา ของเหลือทิ้งจากโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร และ เป็นการกำจัดวัชพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักตบชวาซึ่งมักมีมากเกินความต้องการตามแม่น้ำห้วย หนอง คลอง บึง
ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์
- ปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารพืชในปริมาณน้อย และใช้เวลานานในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งอาจไม่ตรงกับช่วงเวลาที่พืชต้องการ
- มีความยุ่งยากในการรวบรวม สิ้นเปลืองแรงงาน ต้นทุนการผลิตสูง และบางชนิดมีกลิ่นรบกวน
- ไม่สามารถกำหนดความสม่ำเสมอของปริมาณธาตุอาหารได้ เนื่องจากปุยอินทรีย์ได้มาจาก ซากพืชซากสัตว์มีความผันแปรของปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ย
เอกสารอ้างอิง
- กรมวิชาการเกษตร. ปุ๋ยอินทรีย์การผลิตการใช้ มาตรฐานและคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, กรุงเทพฯ.
- กรมวิชาการเกษตร. ประกาศ กรมวิชาการเกษตร เรื่อง การขอขึ้นทะเบียน การออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียนการขอแก้ไขรายการทะเบียน และการแก้ไขรายการทะเบียนปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2552 ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษ 59ง ลงวันที่ 29 มีนาคม 2555.
- ภาควิชาปฐพีวิทยา. ปฐผีวิทยาเบื้องต้น.ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
- ธงชัย มาลา. ปุ้ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ :เทคนิคการผลิตและการใช้ประโยชน์.ภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน,นครปฐม.
- www.withikaset.com
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ