บทความเกษตร » ด้วงมะพร้าว แมลงตัวร้ายทำลายสวนมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน

ด้วงมะพร้าว แมลงตัวร้ายทำลายสวนมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน

10 มีนาคม 2024
463   0

ด้วงมะพร้าว แมลงตัวร้ายทำลายสวนมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน

ด้วงมะพร้าว

ด้วงมะพร้าว


ด้วงมะพร้าว แมลงจอมปัญหาทำลายสวนมะพร้าว ปาล์มน้ำมัน อินทผาลัม การระบาดของด้วงทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรสวนมะพร้าวในปัจจุบัน ที่ไม่ได้ป้องกันไว้ตั้งแต่แรก “ด้วงแรดมะพร้าว” เข้าทำลายโดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบมะพร้าว หรือปาล์มน้ำมัน ทำให้ทางใบหักง่าย ยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อน หากเกษตรกรไม่ดูแลให้ทั่วถึง ก็จะเกิดความเสียหายมาก

ด้วงแรดมะพร้าว (Oryctes Rhinoceros) บ้างก็เรียก ด้วงแรด ด้วงมะพร้าว แล้วแต่พื้นที่ ซึ่งเจ้าตัวด้วงแรดพร้าวเป็นแมลงที่ชอบเก็บตัว แอบซ่อน ทั้งตัวเต็มวัย หนอนวัยต่างๆ ดักแด้ และไข่ พบอยู่ในที่มืด ตัวเต็มวัยของด้วงแรดเท่านั้นที่ทำลายพืช มักพบในแหล่งอาหาร เช่น ภายในรูเจาะบนยอดมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมัน ซึ่งอาจพบมากกว่า 1 ตัว ในต้นปาล์มประดับเคยพบด้วงแรดซุกซ่อนตามโคนกาบทางมากกว่า 10 ตัว นอกจากนี้ยังพบในแหล่งขยายพันธุ์อีก ตัวเต็มวัยด้วงแรดจะบินออกหากินในเวลาพลบค่ำและเวลาก่อนตะวันขึ้น มักพบด้วงแรดมาเล่นแสงไฟหลังฝนตกในเวลากลางคืน ด้วงแรดมักบินไปมาในระยะทางสั้นๆ ระหว่างแหล่งอาหารและแหล่งขยายพันธุ์

รูปแบบการทำลาย  เฉพาะตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูพืช โดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบมะพร้าว หรือปาล์มน้ำมัน ทำให้ทางใบหักง่าย และยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมากๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดโรคยอดเน่าจนถึงต้นตายได้ในที่สุด พฤติกรรมของด้วงแรด

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด  ด้วงแรดสามารถแพร่กระจายได้ทั่วประเทศและเพิ่มจำนวนได้ตลอดปี ปริมาณมากหรือน้อยขึ้นกับแหล่งเพาะขยายพันธุ์ จากผลของการศึกษาพบว่าในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ฤดูที่ด้วงแรดผสมพันธุ์และวางไข่มากที่สุดอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ดังนั้นจะพบความเสียหายอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม

กำจัดด้วงแรดมะพร้าวแบบอินทรีย์

ระยะหนอน ลักษณะหนอนของด้วงแรดสามารถสังเกตได้อย่างหนึ่ง คือ หนอนจะงอตัวเป็นอักษร “C” บางครั้งเห็นส่วนหัวกับส่วนท้ายลำตัวเกือบชนกัน ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม อาจมีอายุยืนยาวถึง 420 วัน พืชอันโอชะอาหารเช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ปาล์มประดับ

ที่มา :  SV Biotech




บทความอื่นที่น่าสนใจ