จุลินทรีย์จาวปลวก ประโยชน์หลากหลาย ช่วยย่อยสลายได้เร็ว
จุลินทรีย์จาวปลวก คือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพกลุ่มหนึ่ง ที่ถูกค้นพบโดย คุณจักรภฤต บรรเจิดกิจ ปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดพิจิตร โดยนำจาวปลวกมาผสมคลุกเคล้ากับปลายข้าวดิบ (ปลายข้าวคหนียวหรือปลายข้าวเจ้า) และน้ำสะอาด หมักทิ้งไว้คพียง 7 วัน ก็สามารถนำมาใช้งานได้ จุดเด่นน้องจุลินทรีย์จาวปลวก คือ ช่วยประหยัดต้นทุน เพราะไม่จำเป็นต้องใช้กากน้ำตาลหรือรำละเอียดเหมือนการหมักจุลินทรีย์กลุ่มอื่น ๆ และ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงใช้เพาะ เห็ดโคนป่าหรือเห็ดป่าร่วมกับธรรมชาติได้ปีละหลายครั้ง นอกจากนี้ยังใช้สกัดคอนไซม์จากผลไม้ สำหรับดื่มเพื่อบำรุง สุขภาพและป้องกันโรคได้อีกด้วย
จาวปลวกคืออะไร
จาวปลวก คือ รังเลี้ยงตัวอ่อนหรือคอมบ์ โครงสร้างเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ รูปร่างหยักไปมาคล้าย มันสมองหรือคล้ายปะการัง บางชนิดคล้ายรังผึ้ง ลวดลายที่แตกต่างกันนี้ บางครั้งสามารถบอกสกุลของปลวกได้ ขนาด ของรังเลี้ยงตัวอ่อนไม่แน่นอน ขนาดเล็กประมาณ 8×6 เซนติเมตร ขนาดใหญ่มักมีรูปร่างยาวตามโพรงหรือห้องที่อยู่ ใต้ดิน หรือภายในจอมปลวก
การทำน้ำหมักจุลินทรีย์จาวปลวก
ก่อนที่จะขุดนำจาวปลวกมาใช้ทำจุลินทรีย์จาวปลวก ต้องเตรียมขั้นห้า 1 พาน จุดธูปหอม 21 ดอก และ กล่าวคำขอจากพระแม่ธรณีและราชา ราชินีปลวกว่า “สาธุพระแม่ธรณี ราชา ราชินีปลวกทั้งหลาย ข้าพเจ้าขออนุญาต ขุดจอมปลวก เพื่อเอาจาวปลวกมาทำจุลินทรีย์ เพื่อเป็นประโยชน์ในการกสิกรรม แล้วจะทำบุญอุทิศไปให้สาธุ” แล้ว ใช้ด้ามจอบกระทุ้งจอมปลวก ถ้าเสียงดังปุกๆ แสดงว่ารังมีโพรง มีจาวปลวกอยู่ ให้ขุดได้เลย แล้วนำจาวปลวกที่มีเชื่อ เห็ดโคน (สังเกตุได้จากมีจุด้าวๆ อยู่บนจาวปลวก และมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ด) ออกมาใช้งาน
วัตถุดิบและอุปกรณ์
- จาวปลวกที่้ขุดมาใหม่ๆ ประมาณ ½ กก. หรือ หัวเชื่อแบบเข้มข้น จำนวน 1 ลิตร
- ปลายข้าวหรือข้าวหัก ใช้ได้ทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า 5 กก.
- น้ำสะอาดที่ไม่มีคลอรีน ประมาณค่อนถัง (170ลิตร)
- ถังน้ำมีฝาปิด 1 ใบ ขนาด 200 ลิตร
วิธีทำจุลินทรีย์จากปลวก
นำจาวปลวก มาคลุกกับปลายข้าว แล้วเทลงในถังพลาสติกที่มีน้ำ สะอาดไม่มีคลอรีน ใส่ไว้เกือบเต็มถัง เหลือที่ว่าง จากปากถังประมาณ 1 ฝ่ามือ ปิดฝา ตั้ง ไว้ในบริเวณที่โดนแดด ตอนเช้า ส่วนตอนบ่ายให้อยู่ในร่ม แล้วหมักทิ้งไว้ 7 วัน โดยคน ไปทางเดียวกัน ทุกวัน จะได้จุลินทรีย์จาวปลวกแบบน้ำที่มีลักษณะเป็นน้ำสีขาวใส มีกลิ่นเปรี้ยว พร้อมใช้งาน
หมายเหตุ
- ปริมาณ ข้าว น้ำ และจาวปลวก ไม่มีสูตรตายตัว สามารถนำไปประยุกต์กับขนาดของถังพลาสติกที่มีอยู่ ถ้า ถังมีปริมาตรความจุมาก ก็ใช้ปลายข้าว และน้ำมากขึ้นตามลำดับ
- ไม่ควรเทน้ำใส่เต็มถัง เพราะเมื่อผ่านไป 3 วัน จะเกิดฟอง และแรงดันอากาศ ฝาอาจจะระเบิดออกได้
- ถ้าต้องการย้ายเชื่อจุลินทรีย์จาวปลวกให้ได้ปริมาณมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องขุดจอมปลวกเพื่อเอาจาวปลวก อีก เพียงแต่เตรียมปลายข้าว และในน้ำในปริมาณคท่าเดิม และนำน้ำจุลินทรีย์จาวปลวกที่ทำครั้งแรกมาคลุกกับปลายข้าวให้เข้ากัน แล้วจึงนำไปเทใส่ถังพลาสติกที่มีฝาปิด และใส่น้ำเกือบเต็มถัง ปิดฝาทิ้งไว้ 7 วัน ก็จะได้น้ำจุลินทรีย์จาว ปลวกไปใช้ประโยชน์ได้
การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์จาวปลวก
ใช้เพาะเห็ดโคนป่าแบบกึ่งพึ่งพาธรรมชาติ
โดยใช้น้ำจุลินทรีย์จาวปลวกแบบเข้มข้น จำนวนไม่จำกัด นำไปรดราดบริเวณโคนจอมปลวกให้ชุ่ม หรือใช้วิธีถากดินรอบจอมปลวก ให้กระจายรอบๆ บริเวณโคนจอมปลวกให้สม่ำเสมอ จึงรดน้ำ จุลินทรีย์จาวปลวกให้ชุ่มทั่วบริเวณ แล้วนำใบไม้ เศษหญ้า หรือฟางข้าวคุลมให้มิด รดน้ำให้ชุ่ม รอจนกว่าสภาพอากาศ ในช่วงฤดูฝน จะมีอากาศร้อนอบอ้าวเหมือนฝนจะตก เมื่อสังเกตุคือ เห็ดโคนมักจะเกิดในวันโกน หรือก่อนวันขึ้น 15 ค่ำ โดยวิธีการนี้จะทำให้มีเห็ดโคนเกิดขึ้นมากกว่าปีละครั้ง
ใช้ย่อยสลายฟางข้าวในแปลงนา
โดยใช้จุลินทรีย์จาวปลวกแบบเข้มข้น จำนวน 10 ลิตรต่อไร่ ปล่อยไปตามน้ำหรือฉีดพ่นให้กระจาย ทั่วแปลงนา ระดับน้ำในแปลงนาต้องท่วมฟางข้าวประมาณ 1 ฝ่ามือ หมักทิ้งไว้ 5-7 วัน จึงสามารถปั่นทำเทือกนาได้ ฟางข้าวจะเปื่อยขาด ไม่ติดตัวปั่น ปั่นง่าย ทำให้ประหยัดน้ำมัน หากจะให้ฟางเปื่อยเร็วกว่านี้ ให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยน้ำ หมักจากปลา เทใส่ไปพร้อมกับน้ำที่สูบเค้าแปลงนา จะทำให้จุลินทรีย์จาวปลวกย่อยสลายฟางข้าวอย่างรวดเร็ว ทำให้ ดินร่วนซุย อุ้มน้ำ ดินมีรูอากาศ ทำให้ไส้เดือนดินและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ช่วยให้ข้าว เจริญคติบโตแข็งแรง ใบเขียวเค้ม
ใช้ป้องกันเชื้อราในพืช
หรือรักษาสภาพของเมล็ดพืชให้สดอยู่คสมอ วิธีใช้ น้ำจุลินทรีย์จาวปลวก 1 ส่วน ต่อ น้ำ 10 ส่วน ฉีดพ่นพืชผัก 3 วัน/ครั้ง ไม้ดอกไม้ประดับ สัปดาห์ละครั้ง ไม้ผลยืนต้น ใช้คดือนละครั้ง
ที่มา : จักรภฤต บรรเจิดกิจ. จิตวิญญาณในธุลี มหัศจรรย์จุลินทรีย์จาวปลวก. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง จุลินทรีย์จาว ปลวก วันที่ 7 มีนาคม 2558 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สุมาลีพิชญางกูร. เห็ดโคนและลูกผสมฟิวแสนท์. . บริษัท สามเจริญพาณิชย์ปกรุงเทพ) จำกัด. กรุงเทพฯ. 2547. อุทัยวรรณ แสงวณิช, ผศ. ดร. ค้าอธิบายเรื่องเห็ดโคน. สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เห็ดโคนกับปลวกและการ เพาะเลี้ยงเห็ดโคน.
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ