สูตร การผลิตปุ๋ยชีวภาพ และวิธีการใช้งาน
การผลิตปุ๋ยชีวภาพ
ปุ๋ยน้ำชีวภาพ หมายถึง สารละลายเข้มข้น หรือของเหลวที่ได้จากการหมักเศบพืชหรือสัตว์ โดยกระบวนการหมักในสภาพที่ไร้อากาส ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์จำพวกแบคที่เรีย ราและยีสต์ ช่วยย่อยสลายปลดปล่อยสารออกมาในรูปกรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ฮอร์ โมน เอนไซม์ ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้
ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำชีวภาพ
- เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช
- เพิ่มการขยายตัวของใบ และยืดตัวของลำต้น
- ชักนำให้เกิดการงอกของเมล็ด
- ส่งเสริมการออกดอกและติดผลดีขึ้น
การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากผักสีเขียว
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้หลักๆ ประกอบด้วย
- ผักสีเขียว 1 ส่วน
- กากน้ำตาล 1 ส่วน
- ถังพลาสติก
ขั้นตอนการดำเนินการ
นำผักสับเป็นชื้นเล็กๆ ยิ่งเล็กยิ่งดีเพราะใช้เวลาในการย่อยสลายได้เร็วขึ้น ใส่ 1 ส่วน แล้วใส่กากน้ำตาลลงไปอีก ส่วน ปิดฝาทิ้งไว้ให้สนิททิ้งไว้ประมาณ 30 วันสามารถนำมาใช้ได้ หรืออาจผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ไปด้วยเพื่อเร่งการย่อย และให้เกิดจุลินทรีย์ขยายตามที่เราใส่ลงไป
หัวเชื้อจุลินทรีย์นั้นเกษตรกรสามารถใช้ได้ตามความสะดวก อาจใช้สารเร่ง พ.ด. ของกรมพัฒนาที่ดิน หรือ จุลินทรีย์ EM หรือใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพอื่นที่มีอยู่แล้วเป็นหัวเชื้อก็ได้ ไม่ต้องใส่มากเนื่องจากเชื้อสามารถเพิ่มจำนวนได้เมื่อหมักอยู่ในถัง
วิธีใช้
ใช้ฉีดพ่นทางใบหรือราดโคนต้นสำหรับไม้ผล อัตราปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 1 ต่อน้ำ 200 หากใช้กับพืชผัก ไม้ประดับอัตราให้ลดลงตามความเหมาะสม 1 ต่อน้ำ 500 1,000 เป็นต้น
สูตรการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากผลไม้
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้หลักๆ ประกอบด้วย
- ฟักทอง+กล้วยน้ำหว้า+มะละกอ (ผลไม้อื่นสามารถนำมาประยุกต์ได้)
- กากน้ำตาล (อย่างละ 1 ส่วนโดยน้ำหนัก)
- ถังพลาสติก
ขั้นตอนการดำเนินการ
หั่นผลไม่เป็นลูกเต๋าเล็กๆ ใส่ 1 ส่วน ใส่กากน้ำตาลลงไปอีก 1 ส่วน แล้วตามด้วยน้ำผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ใส่พอท่วมผสมให้เข้ากัน ปีดฝาทิ้งไว้ให้สนิท ทิ้งไว้ประมาณ 15 -30 วัน ก็สามารถนำมาใช้ได้หรืออาจผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ไปด้วยเพื่อเร่งการย่อย และให้เกิดจุลินทรีย์ขยายตามที่เราใส่ลงไป
วิธีใช้
ใช้ฉีดพ่นทางใบหรือราดโคนต้นสำหรับไม้ผล อัตราปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 1 ต่อน้ำ 200 หากใช้กับพืชผักไม้ประดับอัตราลดลงตามความเหมาะสม 1 ต่อน้ำ 500 1,000 ระยะเวลาการใช้ 10 วันต่อ 1 ครั้ง
สูตรการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากต้นกล้วย
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้หลักๆ ประกอบด้วย
- ต้นกล้วยที่กำลังจะออกปลี 2-3 ส่วน
- กากน้ำตาล 1 ส่วน
- ถังหมัก
ขั้นตอนการดำเนินการ
นำกล้วยที่กำลังจะออกปลี สับเป็นชิ้นเด็กๆ ยิ่งเล็กยิ่งใช้เวลาในการย่อยเร็วขึ้น ใส่ 1 ส่วน ใส่กากน้ำตาลลงไปอีก 1 ส่วน ปิดฝาทิ้งไว้ให้สนิท 20 – 40 วัน สามารถนำมาใช้ได้หรืออาจผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ไปด้วยเพื่อเร่งการย่อย และให้เกิดจุลินทรีย์ขยายตามที่เราใส่ลงไป
วิธีใช้
รดลงดินก่อนการเพาะปลูก อัตราส่วน 1:200 ลิตร (ปุ๋ย:น้ำ นำไปฉีดพ่นให้กับพืชทางใบอัตรา 1:500-1,000 ลิตร รดลงดินระหว่างเพาะปลูกอัตรา 1:500-1,000 ลิตร
วิธีใช้
รดลงดินก่อนการเพาะปลูก อัตราส่วน 1:200 ลิตร (ปุ๋ย:น้ำ) นำไปฉีดพ่นให้กับพืชทางใบอัตรา1:500-1,000 ลิตร รดลงดินระหว่างเพาะปลูกอัตรา 1:500-1,000 ลิตร
การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากปลา หรือหอยเชอร์รี่
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้หลักๆ ประกอบด้วย
- ปลาสด 1 ส่วน
- กากน้ำตาล 1 ส่วน
- น้ำ 5 ส่วนหรือพอท่วม
- หัวเชื้อจุลินทรีย์
- ถังพลาสติก
ขั้นตอนการดำเนินการ
นำชิ้นส่วนของปลาที่ได้มาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ยิ่งเล็กยิ่งใช้เวลาในการย่อยเร็วขึ้น หรือถ้าใช้หอยเชอร์รี่ให้ทุบให้เปลือกหอยเตก ใส่ 1 ส่วน ใส่กากน้ำตาลลงไปอีก 1 ส่วน แล้วตามด้วยน้ำผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ใส่พอท่ามผสมให้เข้ากัน ปีดฝาทิ้งไว้ให้สนิท ทิ้งไว้ 30 -45 วัน สามารถนำมาใช้ได้
หัวเชื้อจุลินทรีย์นั้นเกษตรกรสามารถใช้ได้ตามความสะดวก อาจใช้สารเร่ง พ.ด. ของกรมพัฒนาที่ดิน หรือ จุลินทรีย์ EM หรือใช้ป้ยน้ำชีวภาพอื่นที่มีอยู่แล้วเป็นหัวเชื้อก็ได้ ไม่ต้องใส่มากเนื่องจากเชื้อสามารถเพิ่มจำนวนได้เมื่อหมักอยู่ในถัง
วิธีใช้
ใช้ฉีดพ่นทางใบหรือราดโคนต้นสำหรับไม้ผล อัตราปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 1 ต่อน้ำ 200 หากใช้กับพืชผักไม้ประดับอัตราลคลงตามความเหมาะสม 1 ต่อน้ำ 500 1,000
วิธีขยาย EM หรือหัวเชื้อจุลินทรีย์อื่น
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้หลักๆ ประกอบด้วย
- EM หรือหัวเชื้อจุลินทรีย์อื่น 1 ส่วน
- กากน้ำตาล 1 ส่วน
- น้ำ 18 ส่วน
ขั้นตอนการดำเนินการ
นำส่วนผสมทั้งหมดผสมกัน หมักทิ้งไว้ 14 วัน จะได้ EM ขยายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ระหว่างการหมักให้เปิดฝา วันละ 1 นาที ทุกวัน จนครบกำหนด
สูตรปุ๋ยน้ำชีวภาพแคลเขียม
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้หลักๆ ประกอบด้วย
- เปลือกไข่
- กากน้ำตาล
- หัวเชื้อจุลินทรีย์
ขั้นตอนการดำเนินการ
นำเปลือกไข่มาอบ หรือตากให้แห้ง แล้วบดให้เป็นชิ้นเกใส่เปลือกไข่ กากน้ำตาลอย่างละหนึ่งส่วน แล้วใส่น้ำให้พอท่วม ผสมให้เข้ากันหรืออาจผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ไปด้วยเพื่อเร่งการย่อย และให้เกิดจุลินทรีย์ขยายตามที่เราใส่ลงไป
วิธีใช้
ใช้ฉีดพ่นความเข้มข้น 0.1-0.2% ใช้ฉีดพ่นบนใบหลังการติดผลช่วยเพิ่มความหวาน ช่วยให้ตาดอกแข็งแรง ความแข็งแรงให้แก่พืช ผลผลิตคุณภาพดี
อ้างอิง : ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 0-53873938-9 ,www.withikaset.com
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ