การปลูกขมิ้นชัน และการดูแลรักษาหลังการปลูก
การปลูกขมิ้นชัน
ขมิ้นชั้น เป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมาแต่โบราณโดยนามาใช้แต่งสี แต่งกลิ่น และรสของอาหารเช่น แกงเหลือง แกงไตปลา การใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร ขมิ้นผงเป็นแหล่งสีธรรมชาติให้ความปลอดภัยมากกว่าสีสังเคราะห์ตลอดจนี้เป็นสมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆเช่น แผลในกระเพาะอาหาร อาการท้องอืด ท้องเฟ้อขับลม
ขมิ้นชั้น เป็นพืชปลูกง่ายสามารถปลูกขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย เติบโตได้ดีในที่ดอนไม่ชอบน้ำท่วมขัง ปัญหาของโรคแมลงรบกวนน้อย อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8-9 เดือน เกษตรกรส่วนใหญ่จะ ปลูกขมิ้นชั้นี้เป็นพืชสวนครัวหลังบ้านในปริมาณไม่มากนัก
ฤดูกาลปลูกขมิ้น
การปลูกขมิ้นชันในประทศไทยเริ่มปลูกในช่วงตันฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน ถึงตันเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปีและจะเก็บเกี่ยวหัวขมิ้นในช่วงฤดูหนาวหรือประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งช่วงนี้หัวขมิ้นชันจะแห้งสนิท
ดินและการเตรียมดิน
ขมิ้นชันสามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่ที่เหมาะสมควรเป็นดินที่ระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขังถ้าเป็นดินเหนียวควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุยคอกอัตรา 1 ตัน/ไร่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของดิน การเตรียมดินควรไถพรวนก่อนตันฤดูฝน และหลังจากพรวนดินให้มีขนาดเล็กลงแล้ว ก็ใช้ไถยกร่องปลูกระยะระหว่างแถว 75 เชนติเมตร ระยะระหว่างตัน 30 เชนติเมตร
การเตรียมหัวพันธุ์ขมิ้นชันสำหรับปลูก
การปลูกขมิ้นชันอาจใช้ท่อนพันธุ์ใต้ 2 ลักษณะคือใช้หัวแม่ และใช้แง่ง ถ้าปลูกโดยใช้หัวแม่ที่มีรูปร่างคล้ายรูปไข่ขนาดน้ำหนักประมาณ 15-50 กรัม/ หัว หัวแม่นี้สามารถให้ผลผลิตประมาณ 3,300กิโลกรัม/ไร่ ที่ระยะปลูก 75×30 เชนติมตร ถ้าใช้หัวแม่ขนาดเล็กลง จะลดลงไปตามสัดส่วน ถ้าปลูกด้วยแง่งขนาด 15 -30 กรัม/ชิ้น หรือ 7 -10 ปล้อง/ซิ้น จะให้ผลผลิตน้ำหนักสดประมาณ 2,800 กก./ไร่
ก่อนนำลงปลูกในแปลงควรแช่ด้วยยากันราและยาฆ่าเพลี้ย เพื่อป้องกันโรคหัวเน่าและกำจัดเพลี้ย ซึ่งอาจติดมากับท่อนพันธุ์และมักจะระบาดมากขึ้นในช่วงปีที่ 2-3 ของการปลูกหากมิได้รับการเอาใจใส่ป้องกันให้ดีก่อนปลูก โดยแช่นานประมาณ 30 นาที ควรระมัดระวังการใช้สารเคมีโดยสวมถุงมือยางที่มีสภาพเรียบร้อยไม่ขาด และควรสวมหน้ากากด้วย ก่อนปลูกขมิ้นชันควรรองกันหลุมด้วยปุ๊ยสูตร 13- 13-21อัตรา 50 กก./ไร่ และวางท่อนพันธุ์ลงในแปลง กลบดินหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร หลังจากนั้นขมิ้นชันจะใช้เวลาในการงอกประมาณ 30-70 วันหลังปลูก
การใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช
ขมิ้นชัน เมื่อเริ่มงอกยาวประมาณ 5- 10 เซนติเมตร ต้องรีบทำการกำจัดวัชพืช เนื่องจากขมิ้นชันหลังจากงอกจะเจริญเติบตแข่งกับวัชพืชไม่ได้ และใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 50 กก./ไเมื่อกำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 ควรพรวนดินกลบโคนแถวขมิ้นชันด้วย หลังจากนั้นกำจัดวัชพืชอีก 2-3 ครั้ง ก็พอ
การให้น้ำ
แม้ว่าขมิ้นชันจะเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมก็ตามในช่วงตันฤดูฝน อาจทิ้งช่วงไปขณะที่ขมิ้นชันยังมีขนาดเล็กอยู่ อาจมีอาการเหี่ยวเฉาบ้าง จึงควรให้น้ำชลประทานให้เพียงพอสำหรับความชุ่มขึ้น หรืออาจใช้วัตถุคลุมตินเพื่อลดการระเหยของน้ำ และเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนไม่จำเป็นต้องให้น้ำเลยแต่ต้องระมัดระวังน้ำท่วมขังในแปลงเป็นเวลานาน ๆทำให้ขมิ้นเน่าตายได้ ควรเตรียมแปลงให้มีทางระบายน้ำและต้องรีบจัดการระบายน้ำออกทันทีที่พบว่ามีน้ำท่วมขัง
โรคและแมลงศัตรูพืช
โรคของขมิ้นชันเกิดจากการเน่ของหัวขมิ้นจากน้ำท่วมขังหรือการให้น้ำมากเกินไป หรือเกิดจากการปลูกช้ำที่เดิมหลาย ๆ ครั้ง ทำให้เกิดการสะสมโรค โรคที่พบได้แก่ โรคเหง้าและรากเน่าซึ่งเกิดจากเชื้อแบคที่เรีย โรคตันเหี่ยว และโรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา โรคเหล่านี้เมื่อเกิดแล้วรักษายาก จึงควรป้องกันก่อนปลูก การป้องกันโรคที่ดีควรทำโดยการหมุนเวียนแปลงปลูกทุก ๆ ปี
การเก็บเกี่ยว
หลังจากปลูกขมิ้นชันเมื่อช่วงต้นฤดูฝนจนย่างเข้าสู่ฤดูหนาวประมาณปลายเตือนธันวาคม ลำตันเหนือดินเริ่มแสดงอาการเหี่ยวแห้งจนกระทั่งแห้งสนิทจึงเริ่มทำการเก็บเกี่ยว
ในการเก็บเกี่ยวหัวชมิ้นควรใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น รถแทรคเตอร์ติดผานไถอันเดียว และคนงานเดินตามเก็บหัวขมิ้นชันจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าแรงงาน เนื่องจากการเก็บเกี่ยวเป็นช่วงฤดูแล้งในสภาพดินเหนียวดินจะแข็ง ทำให้เก็บเกี่ยวยากอาจให้น้ำพอดินขึ้น ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์แล้วจึงเก็บเกี่ยวขมิ้น ในกรณีที่ใช้แรงงานคนขุดหัวขมิ้นในดินที่ไม่แข็งเกินไป มักจะขุดได้เฉลี่ยประมาณ 116 กก./วัน/คน
เมื่อทำการเก็บเกี่ยวแล้วต้องนำมาตัดแต่งราก ทำความสะอาดดินออกในกรณีที่ต้องการขมิ้นสดอาจจะขายส่วนที่เป็นแง่ง ส่วนหัวแม่ควรเก็บไว้เป็นพันธุ์ปลูกในฤดูกาลต่อไป ถ้าเตรียมขมิ้นแห้งเพื่อนำไปใช้ทำยารักษาโรคนั้น ต้องเป็นเมิ้นชันที่แก่เต็มที่ และต้องคำนึงถึงความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งต้องมีปริมาณสารสำคัญ (เคอร์คูมิน) ไม่น้อยกว่า 8.64 เปอร์เซ็นต์
วิธีการต้องนำหัวเมิ้นชันล้างด้วยน้ำให้สะอาด ตัดแต่งรากออกให้หมด แล้วฝานเป็นชิ้นบาง ๆนำไปตากแดตในตู้อบแสงอาทิตย์ ที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองได้ และเมื่อแห้งสนิทแล้วบรรจุถุงปิดให้สนิท
ขมิ้นสด 5 กิโลกรัมจะได้ขมิ้นแห้งประมาณ 1 กิโลกรัม นอกจากการเตรียมสำหรับทำยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถเตรียมขมิ้นชันเพื่อใช้ในการแต่งสี และแต่งกลิ่นผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด โดยการตัมแง่งขมิ้นในน้ำเดือดเป็นเวลา 30 นาที จะมีปริมาณเคอร์คูมิน 5.48 เปอร์เซ็นต์ แล้วหั่นก่อนอบแห้งในการตัมขมิ้นชันกับน้ำเดือดจะทำให้ประหยัดเวลาในการทำแห้งมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีการฝานสดแล้วตากแห้งกับแสงแดดและขมิ้นได้ต้องนำไปบดเป็นผงต่อไป
สรุป
จากการปลูกขมิ้นชันจนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวใช้เวลาประมาณ 8-9 เดือน เป็นพืชที่ไม่ยากต่อการปฏิบัติดูแลรักษา แต่สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรควรปฏิบัติไม่ควรปลูกช้ำแปลงเดิมติดต่อกัน ควรหมุนเวียนสลับกับพืชอื่นจะช่วยลดความเสียหายจากโรคและแมลงศัตรูพืช และควรปรับใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการกำจัดวัชพืชและการเก็บเกี่ยวขมิ้นเพื่อช่วยลดตันทุนการผลิต ลดความเสียหายจากโรคและแมลงศัตรูพืชและควรปรับใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ในการกำจัดวัชพืชและการเก็บเกี่ยวขมิ้นเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต
เกษตรกรสนใจพันธุ์ขมิ้นโปรดติดต่อ สถานีวิจัยปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา30130 โทรศัพท์ (044) 311796 หรือโทรสาร (044) 31 3797 ในระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงตันเดือนพฤษภาคมทุกปี
บทความอื่นที่น่าสนใจ