บทความเกษตร » การทำหญ้าหมัก สำหรับเลี้ยงสัตว์

การทำหญ้าหมัก สำหรับเลี้ยงสัตว์

9 ธันวาคม 2024
213   0

การทำหญ้าหมัก สำหรับเลี้ยงสัตว์

การทำหญ้าหมัก

สวัสดีครับ ในบทความนี้เราจะพามาศึกษาวิธี การทำหญ้าหมัก สำหรับเลี้ยงสัตว์ ในช่วงน่าแล้วที่อาหารขาดแคลนกันครับ บอกได้เลยว่ามีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดครับ

ทำความเข้าใจกับ ” หญ้าหมัก “

หญ้าหมัก หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่างๆ ที่เก็บรักษาไว้ในสภาพความชื้นสูงในที่ไม่มีอากาศซึ่งการเก็บถนอมในลักษณะหมักนี้ สามารออยู่ได้เป็นเวลานาน โดยส่วนประกอบต่างๆและคุณค่าของอาหารไม่เปลี่ยนเปลี่ยนแปลงสำหรับไว้ใช้เป็นอาหารสัตว์ในช่วงขาดแคลนหญ้าสด

ประเภทของหญ้าหมัก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • หญ้าหมักสด คือ หญ้าหมักที่ได้จากการใช้พืชสด มีความชื้นสูง จากการตัดโดยตรงแล้วนำมาหมัก
  • หญ้าหมักแห้ง คือ หญ้าหมักที่ได้จากการใช้พืชสดน่ามาผึ่งแดลระยะสั้น เพื่อไล่ความชื้นออกให้เหลือความชื้นน้อย แล้วจึงนำมาบรรจุหลุมหมักและต้องสับให้สั้นกว่าชนิดแรกเพื่อให้การอัดแน่นแน่นไปด้วยดี เนื่องจากความชื้นต่ำ กิจกรรมจุลินทรีย์จึงค่อนข้างจำกัด

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก

อุปกรณ์สำหรับสับหญ้า ถุงดำหรือถุงพลาสติก หรือเท่าที่มีตามท้องถิ่น เพื่อบรรจุหญ้าสำหรับหมัก สารเสริมที่ทำให้การหมักดีขึ้น เช่น กากน้ำตาล 1 กก. เกลือ 500 กรัม เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของหญ้าหมัก

วิธีการหมัก

  • หั่นหรือสับหญ้าสดให้มีขนาด 2-3 ซม.
  • บรรจุหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในถุงพลาสติก อัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมด ในขณะที่บรรจุหญ้าลงในถุง ให้ใส่กากน้ำตาล เกลือลงไปด้วย โดยแบ่งใส่เป็นชั้นๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น
  • ใช้ยางรัดปิดปากถุง ที่บรรจุหญ้าให้สนิท เพื่อป้องกันอากาศและน้ำเข้านำไปเก็บไว้ในที่ร่ม ระวังอย่าให้ถุงมีรอยรั่วซึม เพราะจะทำให้เกิดรา และเน่าเสีย
  • หมักไว้ 3-4 สัปดาห์ หญ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นหญ้าหมัก นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้

หมายเหตุ กรณีเริ่มใช้หญ้าหมัก เลี้ยงควรแบ่งให้วันละน้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เคยชิน

ลักษณะที่ดีของหญ้าหมัก

สีหญ้าหมักที่ดี ควรมีสีเขียวแกมเหลือง หรือสีเหลือง ซึ่งถ้าหญ้าหมักเป็นสีดำไม่ควรนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ กลิ่นหอมคล้ายผัก ผลไม้ดอง เนื้อหญ้าหมักจะต้องไม่เป็นเมือก ไม่เละ ไม่มีราหรือส่วนเน่าบูด ความชื้นควรอยู่ระหว่าง 65 – 70 % ทดสอบโดยบีบหญ้าหมักด้วยมือ ถ้ามีน้ำเหลวๆไหลออกมาแสดงว่า มีความชื้นมากเกินไป อาจทำให้หญ้าหมักเสียได้ง่าย

ข้อควรระวังในการทำหญ้าหมัก

  • การอัดหญ้าลงในภาชนะที่ใช้หมักต้องอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศที่มีอยู่ในภาชนะออกให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การหมักเกิดได้ดี และหญ้าหมักเสียน้อยที่สุด
  • การปิดภาชนะที่บรรจุต้องทำให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปในกองหญ้าหมัก
  • เมื่อเปิดภาชนะควรใช้ให้หมดในระยะเวลาอันสั้น และเปิดภาชนะอย่าให้กว้างมาก เพื่อช่วยให้หญ้าหมักเสื่อมช้าลง
  • หญ้าที่นำมาใช้หมักไม่ควรจะมีความชื้นสูงมากเพราะจะทำให้เกิดน้ำในภาชนะหมักมากเกินไป และหญ้าหมักเก็บได้ไม่นาน
  • ระมัดระวังหนูหรือแมลงสาบที่จะมากัดภาชนะหรือพลาสติกที่ปิดให้เป็นรู อากาศจะเข้าไปทำให้หญ้าหมักเสียได้
หญ้าหมัก

ภาพประกอบจาก | facebook ตังค์เต็มฟาร์ม

ข้อดีของหญ้าหมัก

  • สามารถทำได้ทุกฤดูกาล และสามารถใช้ทุกส่วนของต้นพืชให้เป็นประโยชน์ ส่วนของลำต้นที่แข็งเมื่อหมักแล้วจะอ่อนนุ่มสัตว์ชอบกิน
  • ใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาน้อย
  • หญ้าหมักมีลักษณะอวบน้ำ สัตว์ชอบกิน
  • การสูญเสียโดยการร่วงหล่นของใบพืช จากการทำหญ้าหญ้าหมักมีน้อย จึงสามารถรักษาธาตุอาหารต่าง ๆ ไว้ได้สูงกว่าหญ้าแห้ง และลดอันตรายจากอัคคีภัย ในการเก็บเมื่อเทียบกับหญ้าแท้ง
  • สามารถเก็บรักษาได้นานเป็นปีๆ โดยคุณค่าทางอาหารไม่ลดลงถ้าหากมีการปฏิบัติอย่างดี

ข้อเสียของหญ้าหมัก

  • ต้องมีความรู้ความชำนาญในการทำหญ้าหมัก เปลืองแรงงานและลงทุนมากกว่าการทำหญ้าแห้ง
  • ขาดวิตามินดี
  • เป็นราเสียหายง่าย เมื่อเปิดหลุมแล้ว เนื่องจากหญ้าหมักมีฤทธิ์เป็นกรค จึงทำลายกายภาชนะที่เป็นโลหะได้

หญ้าหมักดี วัวขุนมีสุขภาพดี!

การทำหญ้าหมักเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวขุนทุกท่าน ลองทำดูแล้วคุณจะพบว่ามันง่ายกว่าที่คิด แถมยังช่วยให้วัวขุนของคุณแข็งแรง อ้วนท้วนสมบูรณ์ และมีสุขภาพดีอีกด้วย

ข้อมูล : สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์


บทความอื่นที่น่าสนใจ